เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป » ส่งครู 4 แสนคนเยี่ยมบ้านดึง นร.ยากจนกลับสู่ห้องเรียน ตั้งเป้าปี 62 ช่วยได้ไม่น้อยกว่า 8 แสนคน

ส่งครู 4 แสนคนเยี่ยมบ้านดึง นร.ยากจนกลับสู่ห้องเรียน ตั้งเป้าปี 62 ช่วยได้ไม่น้อยกว่า 8 แสนคน

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 18 มิ.ย. 2562 09:26:48 น. เข้าชม 166429 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ส่งครู 4 แสนคนเยี่ยมบ้านดึง นร.ยากจนกลับสู่ห้องเรียน ตั้งเป้าปี 62 ช่วยได้ไม่น้อยกว่า 8 แสนคน
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ส่งครู 4 แสนคนเยี่ยมบ้านดึง นร.ยากจนกลับสู่ห้องเรียน ตั้งเป้าปี 62 ช่วยได้ไม่น้อยกว่า 8 แสนคน
ส่งครู 4 แสนคนเยี่ยมบ้านดึง นร.ยากจนกลับสู่ห้องเรียน ตั้งเป้าปี 62 ช่วยได้ไม่น้อยกว่า 8 แสนคน

4 หน่วยงานเปิดตัวโครงการ “จดหมายลาครู” สะท้อนชีวิตเด็กในพื้นที่ห่างไกลลาครูเพื่อหาเงินช่วยครอบครัว พร้อมผนึกกำลังครู 4 แสนลงเยี่ยมบ้าน คัดกรองเด็กรับเงินอุดหนุนยากจนพิเศษ ชี้เด็ก 2 ล้านคนเสี่ยงหลุดระบบ ตั้งเป้าปีการศึกษา 62 ช่วยเด็กได้ไม่น้อยกว่า 8 แสนคน ขณะที่ น้องแดง เผยเขียนจดหมายลาครู เพราะครอบครัวยาก ต้องหยุดเรียนช่วยแม่ทำงาน 

วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่ Street ART Graffiti สวนเฉลิมหล้า ราชเทวี กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ร่วมเปิดตัวโครงการรณรงค์ "จดหมายลาครู" และแถลงข่าวความร่วมมือแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาคืนนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหลุดนอกระบบการศึกษากลับสู่โรงเรียน โดย นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า โครงการรณรงค์จดหมายลาครู ได้แรงบันดาลใจจากชีวิตจริงของนักเรียนด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งต้องลาออกไปหารายได้ เป็นเสาหลักของครอบครัว จากฐานข้อมูล กสศ.และกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กนักเรียนมากกว่า 2 ล้านคน ที่อาศัยอยู่กับครอบครัวที่มีปัญหาความยากจนและมีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา

ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้นักเรียนไม่ไปโรงเรียน เช่น ความห่างไกลของสถานศึกษา ไม่มีค่าเดินทาง ไม่มีค่าอาหาร หรือมีความจำเป็นต้องออกไปทำงานแบ่งเบาภาระครอบครัว เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำดังกล่าว ซึ่งปีการศึกษา 2562 กสศ.ได้ขยายความร่วมมือกับ 3 หน่วยงาน คือ สพฐ. สถ. และบช.ตชด. ในโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขสำหรับนักเรียนทุนเสมอภาค ปีนี้จะเป็นการรวมพลังของคุณครูทั้ง 3 สังกัด กว่า 4 แสนคนในการเยี่ยมบ้าน ค้นหาและคัดกรองกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด และคาดว่าในปีนี้จะมีเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดกรอง ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อขจัดอุปสรรคในการมาเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 510,000 คนในปีการศึกษาที่ผ่านมา เป็นประมาณ 800,000 คน อย่างไรก็ตาม การเยี่ยมบ้านนักเรียนจะทำให้เกิดกระบวนการติดตามนักเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนฯไปแล้วใกล้ชิดเพื่อรักษาอัตราการมาเรียนให้เกิน ร้อยละ 80 ตลอดปีการศึกษา การเติบโต น้ำหนักส่วนส่งพัฒนาการสมตามเกณฑ์มาตรฐาน




ดร.สนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.มีนักเรียนที่อยู่ในการดูแลประมาณ 7 ล้านคน ไม่ปฏิเสธว่ายังมีเด็กอีกหลายคนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเพราะความยากจน เป็นอีกปัญหาของการศึกษา สิ่งที่เราทำได้คือการสร้างโอกาสให้เด็ก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กพฐ.ได้มอบนโยบายแก่ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ (สพท.) ทั่วประเทศว่าภายใน 2 เดือนจะต้องลงพื้นที่ไปยังโรงเรียนในกำกับให้ครบทุกโรง รวมถึงมอบให้ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูทุกแห่งลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคนให้ได้ 100% เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ และคัดกรองนักเรียนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์นักเรียนยากจนพิเศษ เพื่อให้ได้รับเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขของ กสศ. เพื่อไม่ให้เกิดการตกหล่น เพราะคาดว่ายังมีเด็กอีก 1 แสนกว่าคนที่เข้าข่ายจะได้รับเงินอุดหนุน ซึ่งตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 มีนักเรียนได้รับเงินอุดหนุนฯ แล้ว 510,040 คน


อ่านข่าว : ถอดรหัส "จดหมายลาครู" เรื่องจริงยิ่งกว่าละคร


นายขจร ศรีชวโนทัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กล่าวว่า เด็กยากจนด้อยโอกาสมีความเสี่ยงที่จะหลุดออกนอกระบบการศึกษาได้ทุกวินาที หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงต้องทำงานเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ให้ทันท่วงที ในช่วงเดือน ก.ค. ครูสังกัด อปท.จำนวน 377 โรงเรียน ใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาญจนบุรี นนทบุรี สระแก้ว ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และยะลา จะลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน คัดกรองนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล - ม.ต้นจำนวนมากกว่า 120,000 คน เพื่อแก้ปัญหาได้เป็นรายคน ตามบริบทพื้นที่ได้อย่างแท้จริง โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่ทาง กสศ.อำนวยความสะดวกให้ทั้ง 10 จังหวัดนำร่องของ อปท. จะเป็นตัวแบบเพื่อขยายผลการปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของสถานศึกษาสังกัด อปท.ทั่วประเทศทั้งหมดในปีต่อไป

ด้าน พล.ต.ต.วันชาติ คำเครือคง รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กล่าวว่า นักเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) มีจำนวนทั้งสิ้น 26,552 คน จาก 218 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นพื้นที่ภาคเหนือ 78 โรงเรียน ภาคตะวันออกฉียงเหนือ 52 โรงเรียน ภาคกลาง 46 โรงเรียน และภาคใต้ 42 โรงเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และด้อยโอกาส จากนี้ครูในสังกัด ตชด. จะลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เพื่อค้นหาคัดกรองอย่างรัดกุมให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่กำลังเดือดร้อนตามเกณฑ์ ของกสศ. เงินอุดหนุนนี้แม้จำนวนไม่มากแต่อย่างน้อยก็ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองได้ ทั้งในส่วนของค่าเดินทาง ค่าอาหาร ฯลฯ ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆ กลุ่มนี้ ความร่วมมือระหว่าง บช.ตชด. และ กสศ.จะไม่ใช่งานเฉพาะหน้า ระยะสั้น แต่จะเป็นการช่วยเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ในระยะยาว และมีความยั่งยืน




ขณะที่ ด.ช.พงษ์ศกร อาสาพิทักษ์ไพร หรือ น้องแดง อายุ 13 ปี ชั้นม.2 โรงเรียนบ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เจ้าของจดหมายลาครู เล่าว่า พ่อของตนเสียชีวิตแล้ว ทำให้ครอบครัวเหลือกันอยู่ 3 คน ซึ่งครอบครัวก็ไม่ได้มีเงินมากนัก ทุกวันนี้พี่คนโตไปทำงานรับจ้าง ตนอยู่กับแม่ แม่ต้องทำงานหนักหาเงิน พอช่วงเก็บลำไยตนเลยต้องหยุดเรียนไปช่วยแม่ ตอนที่เขียนจดหมายลาก็ไม่รู้จะได้กลับมาเรียนเมื่อไร แต่ถ้าตนยังไปเรียนก็จะไม่มีใครช่วยแม่จริงตัดสินใจลาเรียน จนกระทั่งครูบอยมาตามกลับไปเรียนก็เลยกลับมา เพราะถึงแม้ตนจะเรียนไม่เก่ง แต่ก็อยากจะเรียนหนังสือ ตนมีความหวังว่าโตขึ้นจะเป็นนักกีฬาฟุตบอล เพราะเป็นกีฬาที่ชอบมาก และในวันนี้ได้มีโอกาสกลับมาเรียนก็ตั้งใจว่าจะเรียนให้จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 และตามฝันให้สำเร็จ

นายนพรัตน์ เจริญผล หรือ ครูบอย โรงเรียนบ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า หลังจาก ด.ช.พงศกร จบป.6 ก็พบว่าไม่ได้ไปโรงเรียนก็สงสัยจนทราบว่าเด็กไม่อยากไปเรียน เพราะเดินทางลำบาก ประกอบกับช่วงนั้นพ่อของน้องแดงเสียชีวิตจึงคิดว่าจะออกไปช่วยแม่รับจ้างทำงาน เพราะที่บ้านฐานะยากจน รายได้เฉลี่ยไม่ถึง 500 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่รับจ้างทำไร่ แบกกะหล่ำปลี รายได้ไม่แน่นอน แต่ตนคิดว่าอยากให้เรียนต่อ เลยพูดกล่อมให้กลับไปเรียนและย้ำว่าอย่างน้อยขอให้จบ ม.6 มีประกาศนียบัตรติดตัวไป จนตอนนี้ปัจจุบันน้องแดงเรียนอยู่ ม.2 ทั้งนี้ ตอนนี้เริ่มมีเด็กหลายคนมาเขียนจดหมายลาครู ยิ่งเป็นช่วงเพาะปลูกจะลากันเยอะ เช่น ไปปลูกข้าว ไปเก็บเห็นเผาะ เพราะบ้านยากจนเขาต้องไปช่วยพ่อแม่ หาเงินมาใช้จุนเจือครอบครัว บางคนลาหยุดเรียนไป 1-2 อาทิตย์กลับมาครูก็จะต้องสอนย้อนหลัง ซึ่งเด็กเหล่านี้เสี่ยงจะหลุดออกนอกระบบ หน้าที่ครูก็ต้องคอยติดตามเขากลับมาเรียนให้ได้ตามปกติ ให้เขาได้มีความรู้ และเงินอุดหนุนฯ ที่เด็กได้รับก็ไปช่วยเติมเต็มเรื่องค่าใช้จ่ายในครอบครัว และเป็นกำลังใจให้เด็กและผู้ปกครอง ช่วยสนับสนุนให้บุตรหลานไปเรียนหนังสือต่อ.





ขอบคุณที่มา : https://mgronline.com/qol/detail/9620000057864



☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook