เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป » จะยังมีตำแหน่ง "ข้าราชการครู" และ "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่หรือไม่ถ้าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ" พ.ศ....มีผลบังคับใช้

จะยังมีตำแหน่ง "ข้าราชการครู" และ "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่หรือไม่ถ้าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ" พ.ศ....มีผลบังคับใช้

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 24 มิ.ย. 2564 04:14:34 น. เข้าชม 166322 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
จะยังมีตำแหน่ง "ข้าราชการครู" และ "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่หรือไม่ถ้าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ" พ.ศ....มีผลบังคับใช้
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
จะยังมีตำแหน่ง "ข้าราชการครู" และ "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่หรือไม่ถ้าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ" พ.ศ....มีผลบังคับใช้
นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครู (คอท) และประธานชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....

นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครู (คอท) และประธานชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ในฐานะเป็นร่างกฎหมายของรัฐบาล โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการนำร่างกฎหมายดังกล่าวเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร นั้น ตนเห็นว่าข้าราชการครูทุกคนต้องช่วยกันเรียกร้องให้รัฐบาลหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนร่างกฎหมายนี้ออกมาก่อนเนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อคุณภาพการศึกษาและยังจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตครู ดังนี้


​ข้อ ๑ ร่างกฎหมายฉบับนี้มีเจตนาให้ผู้มีอำนาจในอนาคตสามารถเปลี่ยนสถานะข้าราชการครูในปัจจุบันให้เป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” โดยพิจารณาจาก มาตรา ๓๕ ของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....ฉบับนี้ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ให้มีกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีหลักประกันความเป็นข้าราชการหรือความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีสถานะและได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเคียงได้กับข้าราชการ มีความโปร่งใสในการรับบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งอย่างเป็นธรรมและได้รับค่าตอบแทนอย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพ รวมตลอดทั้งหลักประกันในการที่ครูจะสามารถดำรงตนและปฏิบัติหน้าที่ตามาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๔ ได้อย่างมีศักดิ์ศรี” เมื่อพิเคราะห์จากสาระของมาตรานี้แล้วเห็นว่ามาตรานี้ไม่ได้ใช้คำว่า “ข้าราชการครู” แต่ใช้เพียงคำว่า “ครูและบุคลากรทางการศึกษา” ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากข้าราชการครูที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นสถานะอื่นที่ไม่ใช่ข้าราชการ โดยให้มีหลักประกันความเป็นข้าราชการ ซึ่งย่อมหมายถึงการไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่อาจเป็นพนักงานโรงเรียน เหมือนมหาวิทยาลัยในปัจจุบันที่ไม่มีข้าราชการแล้วแต่ให้มีพนักงานมหาวิทยาลัยโดยจะต้องได้รับการประเมินทุกสองหรือสามปี ถ้าประเมินไม่ผ่านก็จะถูกเลิกจ้าง นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏว่าในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฯ ฉบับดังกล่าวได้บัญญัติศัพท์หรือนิยามศัพท์ว่า “ข้าราชการครู” แม้แต่มาตราเดียว ในขณะที่มาตรา 55 และมาตรา 56 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่บังคับใช้ในปัจจุบันใช้คำว่าข้าราชการครู แยกต่างหากจากคำว่าพนักงานของรัฐในสถานศึกษา และครูโรงเรียนเอกชน อีกทั้งร่างกฎหมายนี้ก็มิได้กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลให้ข้าราชการครูที่เป็นอยู่แล้วให้ยังคงเป็นอยู่ต่อไป การบัญญัติให้ผู้มีอำนาจสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะของข้าราชการครูไปเป็นอย่างอื่นนั้นจะส่งผลเสียหายและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของข้าราชการครูเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากข้าราชการครูปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกใจผู้มีอำนาจอาจถูกเลิกจ้างได้อย่างไม่เป็นธรรม ที่สำคัญคือจะทำให้ไม่มีการสร้างแรงจูงใจให้คนเรียนเก่งมาประกอบวิชาชีพครูอันจะทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง


​๒. ข้าราชการครูในสถานศึกษาของรัฐอาจอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายทุน พ่อค้าหรือเอกชน โดย มาตรา ๑๑ (๕) บัญญัติไว้ว่า “รัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ และมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือและอุดหนุนการจัดการศึกษาตาม (๑) (๒) (๓)และ (๔) ในการจัดการศึกษาดังกล่าวรัฐจะมอบหมายให้เอกชนเข้าบริหารจัดการหรือดำเนินการโดยใช้ทรัพยากรของรัฐก็ได้” การบัญญัติเช่นนี้ให้อำนาจรัฐสามารถใช้อำนาจดุลพินิจให้เอกชนเข้าบริหารจัดการสถานศึกษาของรัฐโดยใช้ทรัพยากรของรัฐ ซึ่งข้าราชการครูก็ถือว่าเป็นทรัพยากรของรัฐ

​๓. หน่วยงานระดับกรมต่างๆและเขตพื้นที่การศึกษาจะถูกยุบ เช่นสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ฯลฯ เป็นต้นทั้งนี้เพราะ

๓.๑ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ได้กำหนดโครงสร้างส่วนราชการระดับกรมไว้ในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ โดยให้มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดโครงสร้างของหน่วยงานระดับกรมไว้ และมาตรา ๒ ของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติดังกล่าวได้บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งหมายถึงการยกเลิกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

​​๓.๒ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้มีนิยามศัพท์ “ผู้บริหารการศึกษา” แต่ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับนี้ ไม่มีนิยามศัพท์คำว่า “ผู้บริหารการศึกษา”แต่อย่างใด จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีการยุบเขตพื้นที่การศึกษา

​​๓.๓ มาตรา ๑๐๖ แห่งร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ บัญญัติไว้มีสาระสำคัญว่า “ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการเพื่อให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ .......” เมื่อพิเคราะห์จากการใช้ถ้อยคำเห็นว่าคำว่ากระทรวงศึกษาธิการย่อมหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีอำนาจเสนอให้มีหน่วยงานทางการศึกษาระดับสำนักงานภายในกระทรวงศึกษาธิการได้แต่ไม่มีมีอำนาจในการเสนอให้มีหน่วยงานระดับกรม

​​๓.๔ มาตรา ๑๐๖ แห่งร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติดังกล่าวบัญญัติไว้มีสาระสำคัญว่า “...ให้การบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและปลัดกระทรวงศึกษาธิการ....” บทบัญญัติเช่นนี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าไม่มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ค่อนข้างชัดเจน โดยที่น่าจะมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ทุกจังหวัดเพราะถือว่าเป็นตัวแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

​​๓.๕ ในบทเฉพาะกาลของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับนี้ได้บัญญัติไว้มีสาระสำคัญว่า”ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะและประโยชน์ตอบแทนอื่นเช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ” มีข้อสังเกตคือร่างกฎหมายนี้ไม่มีการพูดถึงผู้บริหารการศึกษาซึ่งหมายถึงผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เลย ย่อมแสดงให้เห็นว่าจะมีการยุบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แน่นอน


​ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวคือไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาแต่ละด้านทั้งด้านการประถมศึกษา การมัธยมศึกษา และการอาชีวศึกษา ไม่มีหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังจะมีปัญหาว่าจะให้บรรดาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และบรรดารองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปวางไว้ที่หน่วยงานใด การกำหนดเช่นนี้เป็นการรวมอำนาจสู่ส่วนกลางผิดหลักการกระจายอำนาจ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ จึงขอเชิญชวนข้าราชการครูร่วมแรงร่วมใจกันเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ออกไปก่อนแล้วให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานร่างกฎหมายการศึกษาขึ้นใหม่โดยให้ข้าราชการครูมีส่วนร่วมในการร่างด้วย


​“ผมขอเรียกร้องให้ข้าราชการครูซึ่งมีจำนวนมากกว่าแปดแสนคน คู่สมรสของข้าราชการครูหรือคนใกล้ชิดที่มีจำนวนมากกว่าแปดแสนคนและลูกศิษย์ของข้าราชการครูอีกหลายแสนคน พร้อมใจกันจับมือให้แน่น ติดตามดูว่าพรรคการเมืองใดที่สนับสนุนให้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย แล้วให้บทเรียนที่สำคัญเมื่อมีการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งต่อไป” นายรัชชัยย์ ฯกล่าวในที่สุด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ
ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครู (คอท) และประธานชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา แห่งประเทศไทย



☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook