โพสต์โดย : Admin เมื่อ 19 ก.ค. 2561 15:02:57 น. เข้าชม 166422 ครั้ง
ทั้งนี้โดยหลักการ คุรุสภา จะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ ก็ต่อเมื่อ 1 มีผู้ร้องเรียนเข้ามา และ 2.ปรากฏเป็นข่าวอย่างชัดเจน กรณีกลุ่มครูมหาสารคาม ออกปฏิญญา ขอให้รัฐบาลและธนาคารออมสินพักหนี้โครงการช.พ.ค. ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.61 เป็นต้นไป และ ลูกหนี้ ช.พ.ค. 4.5 แสนคน จะยุติการชำระหนี้กับธนาคารออมสินตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.61 นั้น แม้จะปราฎเป็นข่าว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่า ไม่ชำระหนี้จริงหรือไม่ และธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้เสียหาย ไม่ได้มาร้องเรียน
ดังนั้นคุรุสภาจึงยังไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ สำหรับกรณีที่ธนาคารออมสิน เตรียมฟ้องผู้ที่ไม่ชำระหนี้นั้น กรณีถูกฟ้องล้มละลาย จะหมดสภาพความเป็นข้าราชการโดยอัตโนมัติ แต่หากอยู่ระหว่างถูกฟ้องร้อง และคดียังไม่ สิ้นสุด คุรุสภายังไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ ยกเว้นกรณีมีผู้มาร้องเรียนให้ตรวจสอบ
นางประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่า การออกปฏิญญามหาสารคาม ของครูเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ แต่ก็เข้าใจเพราะครูก็เหมือนคนทั่วไป ซึ่งเวลากู้เงินอาจไม่ได้ดูข้อกฎหมายต่างๆ ให้รอบด้าน
ขณะที่ทางรัฐบาล และธนาคารออมสินเอง ก็มีแนวทางให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพียงแต่อาจจะยังไม่เพียงพอเท่าที่ครูต้องการ จึงออกมาเรียกร้อง ซึ่งการกระทำแบบนี้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เพราะสังคมคาดหวังกับครู ในการเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ดังนั้นกระแสโต้กลับจึงค่อนข้างมาก
“การออกปฏิญญาแบบนี้คนที่อยู่ในวิชาชีพครูไม่ควรทำ แม้ส่วนตัวเห็นใจครู แต่ก็อย่าลืม ว่าครูไม่ใช่นักการเมือง ครูต้องมีคุณธรรม จริยธรรมที่สูงกว่าคนทั่วไป เพราะสังคมคาดหวัง ให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ” นางประพันธ์ศิริ กล่าว
อ่าน แจงปม ครูไม่ยอมจ่ายหนี้!! เผย เงินกู้ดอกโหด ส่ง 7 ปี เงินต้นลดแสนเดียว!!
อ่าน เผย ครูเบี้ยวหนี้ จะถูกฟ้องล้มละลาย! ขาดคุณสมบัติความเป็นครู อาจโดนไล่ออก