เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » 4 องค์กรหลักด้านเด็ก เดินหน้าผลักดันนโยบาย ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก

4 องค์กรหลักด้านเด็ก เดินหน้าผลักดันนโยบาย ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 29 มิ.ย. 2560 08:46:33 น. เข้าชม 166345 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
4 องค์กรหลักด้านเด็ก เดินหน้าผลักดันนโยบาย ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
4 องค์กรหลักด้านเด็ก เดินหน้าผลักดันนโยบาย ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก
4 องค์กรหลักด้านเด็ก เดินหน้าผลักดันนโยบาย ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก

4 องค์กรหลักด้านเด็ก เดินหน้าผลักดันนโยบาย ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก

ปัจจุบันมีเพียง 52 ประเทศทั่วโลก ที่มีกฎหมายห้ามการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยค่าครบถ้วนทุกสถานที่ สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะมีการห้ามลงโทษเด็กด้วยการตีในโรงเรียนและในกระบวนการยุติธรรม แต่ยังไม่ได้ห้ามอย่างครอบคลุมในทุกสถานที่ เช่น ที่บ้าน สถานสงเคราะห์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ดังนั้น องค์การช่วยเหลือเด็ก ( Save the Children ) จึงได้จับมือกับ 3 องค์กรภาคประชาสังคม อันได้แก่ มูลนิธิสายเด็ก 1387 มูลนิธิรักษ์เด็ก และกลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ ร่วมผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกฎหมาย และปรับเปลี่ยนทัศนคติในสังคมไทย

นัยนา ธนวัฑโฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็ก องค์การช่วยเหลือเด็ก เปิดเผยว่า การลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยค่าเป็นปัญหาระดับโลก เพราะไม่เพียงทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลบนร่างกายเท่านั้น แต่ยังทำให้เป็นอันตรายต่อพัฒนาการของเด็กทั้งด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม การเผชิญกับความรุนแรงหรือการถูกข่มขู่ในโรงเรียน อาจทำลายแรงจูงใจและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กได้ และเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะออกโรงเรียนกลางคัน

การใช้ความรุนแรงในบ้านเป็นการสอนเด็กให้เรียนรู้ว่าความรุนแรงเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและยอมรับได้ ซึ่งเด็กจะนำวิธีการนี้ไปใช้ตลอดช่วงวัยเยาว์และวัยผู้ใหญ่ต่อไป

ขณะนี้ยังมีการลงโทษทางกาย และทำให้เด็กด้อยคุณค่าในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งนำมาซึ่งความมุ่งมั่นระดับต่างๆ ในโลก ที่เห็นความสำคัญต่อการห้ามใช้การลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่าเพิ่มขึ้นด้วย การขจัดการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่า ถือว่าเป็นประเด็นงานคุ้มครองเด็กที่สำคัญระดับโลกประเด็นหนึ่งขององค์การช่วยเหลือเด็ก

ซึ่งองค์การนี้จะดำเนินงานเพื่อขจัดการปฏิบัติเช่นนี้ในทุกสถานที่ ด้วยการปฏิรูปกฎหมายและปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดูแลเด็กสู่พฤติกรรมเชิงบวกของพ่อแม่ ผู้ดูแลและครู อาจารย์ ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดู สร้างเสริมการเรียนรู้และพัฒนาเด็ก

องค์การเพื่อการพัฒนานานาชาติแห่งประเทศสวีเดน (SIDA) เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขจัดการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่า และต้องดำเนินการในทุกประเทศทั่วโลก จึงได้เลือกที่จะสนับสนุนการดำเนินงานใน 6 ประเทศของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวคือ บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ ปากีสถาน เวียดนาม และไทย ซึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้ต่างมีกฎหมายเกี่ยวข้องกับการลงโทษทางกายเด็กที่แตกต่างกันบ้าง แต่ทุกประเทศเหล่านี้การลงโทษเด็กทางกายในบ้านยังไม่ผิดกฎหมาย

นอกไปจากนั้นในประเทศฟิลิปปินส์ยังไม่มีการห้ามตีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และประเทศเมียนมาร์ที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามตีเด็กในโรงเรียน แต่มี 2 ประเทศในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกที่มีการห้ามการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่าในทุกสถานที่แล้ว ได้แก่ ประเทศนิวซีแลนด์ และมองโกเลีย

ด้านอิลยา สมิร์นอฟ ผู้อำนวยการมูลนิธิสายเด็ก 1387กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเด็นปัญหาในประเทศไทย องค์กรภาคประชาสังคม และนักรณรงค์ด้านสิทธิเด็กในประเทศไทยได้ขอให้รัฐบาลไทยทบทวนนโยบาย และกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก ที่ยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนถึงการลงโทษทางกาย และทำให้เด็กด้อยค่าในทุกสถานที่

โดยต้องถือว่าการลงโทษด้วยวิธีการเหล่านี้ไม่ว่าเบาหรือหนัก ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้เริ่มแผนยุทธศาสตร์ชาติในการป้องกันและขจัดความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน ระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่จะกำหนดทิศทาง และปรับปรุงกลไกการป้องกัน การตอบสนอง และการเฝ้าระวังเด็กจากความรุนแรงในทุกรูปแบบ

อย่างไรก็ตามแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ก็ยังไม่ได้ให้ความชัดเจนว่าจะขจัดการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยค่าในทุกสถานที่ได้อย่างไร แม้ว่ามีการห้ามการลงโทษด้วยการตีในโรงเรียนและในกระบวนการยุติธรรมแล้ว แต่ยังไม่ได้ห้ามอย่างครอบคลุมทั้งที่บ้าน สถานสงเคราะห์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

การลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่า มีรากลึกอยู่ในวัฒนธรรม และบรรทัดฐานของสังคมไทยมายาวนาน เด็กไทยจำนวนมากเผชิญกับความรุนแรง รู้สึกหวาดกลัว คับข้องใจ และไม่ได้รับความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยพ่อแม่และผู้ดูแลของตนเอง ซึ่งเป็นบุคคลที่พวกเขาสมควรที่จะให้ความเชื่อมั่นเป็นที่สุด พ่อแม่และผู้ดูแลเหล่านี้ยังขาดความรู้ และทักษะในการเลี้ยงดูลูกโดยไม่ใช้ความรุนแรง

มีผลการศึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กในประเทศไทยฉบับหนึ่งเปิดเผยว่า 77.3 % ของเด็กไทยมีประสบการณ์การถูกลงโทษทางกายและหรือถูกกระทำด้วยความรุนแรงต่อสภาพจิตใจเพื่อสร้างวินัยในบ้านและโรงเรียน

ดังนั้น องค์การช่วยเหลือเด็ก จึงได้จับมือกับ 3 องค์กรภาคประชาสังคมอันได้แก่ มูลนิธิสายเด็ก 1387 มูลนิธิรักษ์เด็ก และกลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ ร่วมกันผลักดันโครงการยุติการลงโทษทางกายและทำให้เด็กด้อยคุณค่า ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในประเทศไทย


ขอบคุณที่มาจาก คมชัดลึก วันที่ 28 มิถุนายน 2560


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook