เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » ครูจุ๊ย ชี้ 415 โรงเรียนสังกัดสพฐ.ในเขตป่าสงวนไม่มีไฟฟ้า ย้ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐต้องจัดการ

ครูจุ๊ย ชี้ 415 โรงเรียนสังกัดสพฐ.ในเขตป่าสงวนไม่มีไฟฟ้า ย้ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐต้องจัดการ

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 11 ม.ค. 2564 03:16:23 น. เข้าชม 166322 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ครูจุ๊ย ชี้ 415 โรงเรียนสังกัดสพฐ.ในเขตป่าสงวนไม่มีไฟฟ้า ย้ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐต้องจัดการ
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ครูจุ๊ย ชี้ 415 โรงเรียนสังกัดสพฐ.ในเขตป่าสงวนไม่มีไฟฟ้า ย้ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐต้องจัดการ
อดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เปิดข้อมูล 415 โรงเรียนสังกัดสพฐ.ในเขตป่าสงวนไม่มีไฟฟ้า ย้ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐต้องจัดการ

อดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เปิดข้อมูล 415 โรงเรียนสังกัดสพฐ.ในเขตป่าสงวนไม่มีไฟฟ้า ย้ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐต้องจัดการ

11 ม.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 ม.ค.64) เฟซบุ๊กเพจ'Kunthida Rungruengkiat - กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ' ของ ครูจุ๊ย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้เคยดูแลนโยบายด้านการศึกษาในฐานะอดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์หัวข้อ "415 โรงเรียน สพฐ. ในเขตป่าสงวนไม่มีไฟฟ้าใช้"  โดยตั้งเด็นคำถามว่า ที่ดินสร้างปัญหาการศึกษา โรงเรียนบนดอย เด็กๆ เสื้อผ้าขาดวิ่น สภาพชีวิตอดมื้อกินมื้อ ทำให้เราชินชาจนลืมถามคำถามสำคัญที่สุดคือ "ทำไม" คำตอบคือ พวกเขาเกิดในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้นหรือ


กุลธิดา ระบุว่า ตลอดเวลาที่ได้เดินทางทำงาน พบเจอปัญหาและผู้คนในการศึกษามากมาย ตนพบว่าปัจจัยหนึ่งของการเข้าไม่ถึงการศึกษาคือปัญหาของตัวบทกฎหมาย และระเบียบต่างๆ "ที่ดินที่คุณอยู่แต่เหมือนไม่ได้อยู่" สมมุติว่า คุณเกิดในชุมชนที่อยู่ในป่าแห่งหนึ่งของประเทศไทย อยู่มาวันหนึ่งปี พ.ศ.2507 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติก็เกิดขึ้น ส่งผลให้มีป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมด 1,221 แห่ง หรือ 60.38 ล้านไร่ นับเป็นร้อยละ 18.50 ของที่ดินทั้งหมดในปัจจุบัน (ประเทศไทยมีที่ดิน 320.7 ล้านไร่) และคุณอยู่บนพื้นที่ประเภทนี้ แน่นอนว่าคุณไม่ได้รับอนุญาตให้ “เข้าทำประโยชน์” บนพื้นที่ป่าสงวน นั่นหมายรวมถึงโรงเรียนและไฟฟ้า


กุลธิดา อธิบายต่อว่า ส่วนพื้นที่อีกประเภทคือพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชมีประชาชนอยู่ในพื้นที่นี้ 4,192 ชุมชน การแก้ปัญหาคือกรมป่าไม้ต้องอนุญาตให้คุณ “ใช้ประโยชน์” จากพื้นที่ก่อนซึ่งปัจจุบันทำการอนุญาตไปเพียง 3.7 ล้านไร่เท่านั้น


โรงเรียนของคุณจึงต้องอยู่แบบตามมีตามเกิด ไฟที่ใช้จึงเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะติดตั้งง่าย ไม่ต้องขอไฟฟ้าตามระเบียบซึ่งไม่รู้เมื่อไหร่จะได้ใช้ ปัจจุบันเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2536 คณะรัฐมนตรีได้มติผ่อนผันให้ดำเนินการไปก่อน โดยเป็นกรณีของส่วนราชการ โครงการพระราชดำริ หรือโครงการเพื่อความมั่นคง ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ประชาชนไม่อยู่สมการนี้เลยด้วยซ้ำ

ส่วนกระบวนการขออนุญาตตัดถนน เดินสายไฟฟ้า ต้องทำไปทีละพื้นที่ด้วยความระมัดระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีขั้นตอนทางกฎหมายและนโยบายมากมาย ด้วยอคติที่มองคนในพื้นที่ว่าทำลายทรัพยากรธรรมชาติ แทนที่จะรับรองสิทธิการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามวัฒนธรรมประเพณีและส่งเสริมให้เขาช่วยปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติรอบๆชุมชน กลายเป็นต้องทำให้เขาขาดแคลนทั้งอำนาจในการจัดการทรัพยากรและลดทอนโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆ


เด็กที่ว่านี่เยอะขนาดไหนนั้น รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า ตัวเลขที่ประมาณคร่าวๆ คือ 35,000 คน โดยชี้ว่าจากการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสพฐ.เมื่อสิงหาคม พ.ศ.2563

มีโรงเรียนสังกัดสพฐ.ในเขตป่าสงวน

  • 14 โรง ไม่มีอินเตอร์เน็ท
  • 291 โรง แจ้งเบอร์โทรศัพท์แบบมือถือ ส่วนอีก 160 โรงที่เหลือคือไม่มีสัญญาณอะไรเข้าถึง
  • 415 โรงไม่มีไฟฟ้า

และโรงเรียนเหล่านี้เขาใช้ชีวิตกันแบบไหนนั้น กุลธิดา ยกตัวอย่างโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตรอยต่อจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม

  • โครงสร้างโรงเรียนทำกันเองในหมู่บ้าน
  • ซื้อน้ำมันเพื่อปั่นไฟใช้
  • สัญญาณโทรศัพท์ต้องเดินออกไปหาตามจุดที่มีเสาสัญญาณ
  • การเดินทางคือ 3 ชั่วโมงโดยรถถึงจะเจอตัวเมืองถ้าเข้าช่วงฤดูฝนจะเลวร้ายกว่านี้

กุลธิดา ย้ำว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐต้องจัดการให้ประชาชนเข้าถึงปัจจัยการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ต้องรอรับบริจาค ไม่ต้องใช้ชีวิตไปวันๆ ได้อาหารกินอิ่มท้องให้วันหนึ่งๆ หมดไป นั่นไม่ใช่คุณภาพชีวิต รัฐมีหน้าที่รับฟังประชาชนและแก้ไขให้เป็นไปตามความต้องการของแต่ละพื้นที่


สภาผู้แทนราษฎรและหน่วยงานราชการต้องมีประสิทธิภาพกว่านี้ พื้นที่ป่าสงวนมีถึง 60 กว่าล้านไร่ ย่อมมีชุมชนที่อยู่กับป่าอยู่แล้ว ปัจจุบันแค่การสำรวจข้อมูลพื้นฐานยังต้องรอถึงพ.ศ.2563 ที่สพฐ.จะมีข้อมูลโรงเรียนในเขตพื้นที่เหล่านี้ และยังไม่มีการสำรวจเชิงคุณภาพใดๆ และเมื่อโควิดเข้ามาซ้ำเติม โรงเรียนในพื้นที่เหล่านี้จะได้รับผลกระทบมากที่สุด พ่อแม่จะทำมาหากินได้ไหม เมื่อของป่าเข้าไปแตะต้องไม่ได้เลย อาชีพอื่นๆ ก็หาทำยากขึ้นในสถานการณ์เช่นนี้ นักเรียนจะไปโรงเรียนได้ไหม และโรงเรียนทั้งหมดประมาณ 700 กว่าแห่ง (หรือหมายความถึงเด็ก 35,000 คนถ้าเราเฉลี่ยโรงเรียนละ 50 คน) ซึ่งยังขาดสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั้งไฟฟ้า สัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณอินเตอร์เน็ต


สพฐ.จะจัดการกลุ่มโรงเรียนแบบนี้เช่นไรคือโจทย์ท้าทาย ลำพังการจัดการหาข้าวหาน้ำตามเงินรายหัว 20 บาทที่ได้รับคงไม่เท่าไหร่ แต่คุณภาพการศึกษาที่ต้องเรียนออนไลน์ เรียนผ่านทางไกล จะเกิดขึ้นได้อย่างไรถ้ายังมีโรงเรียนเช่นนี้อยู่


กุลธิดา ระบุทิ้งท้ายว่า ถ้าไม่แก้ระเบียบต่างๆ ยกเว้นเป็นกรณีๆ ไปโดยการผลักดันของกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดการจัดการเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ โดยตั้งเป้าหมายชัดเจน อาทิ ภายในปี 2565 จะมีโรงเรียนกี่โรงมีไฟฟ้าใช้ ได้สัญญาณอินเตอร์เน็ต การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมจะไม่เกิดขึ้น และถ้าเสียงของพวกเขายังดังไม่พอ พวกเราที่พอจะมีกำลังต้องช่วยส่งเสียงของพวกเขาให้ดังขึ้น ยิ่งห่างไกลยิ่งต้องทุ่มเททรัพยากรดูแล ยิ่งขาดแคลนยิ่งต้องดูแล 


ขอขอบคุณที่มา : https://prachatai.com/journal/2021/01/91147


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook