เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » ค่าน้ำพักน้ำแรง จากการทำงานเพื่อชาติ จ่ายตรงเงินเดือนครู สพฐ.มีผล มกราคม 2560

ค่าน้ำพักน้ำแรง จากการทำงานเพื่อชาติ จ่ายตรงเงินเดือนครู สพฐ.มีผล มกราคม 2560

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 24 ม.ค. 2560 13:27:09 น. เข้าชม 166283 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ค่าน้ำพักน้ำแรง จากการทำงานเพื่อชาติ จ่ายตรงเงินเดือนครู สพฐ.มีผล มกราคม 2560
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ค่าน้ำพักน้ำแรง จากการทำงานเพื่อชาติ จ่ายตรงเงินเดือนครู สพฐ.มีผล มกราคม 2560
ค่าน้ำพักน้ำแรง จากการทำงานเพื่อชาติ จ่ายตรงเงินเดือนครู สพฐ.มีผล มกราคม 2560



ก่อนวันสิ้นเดือนนี้(มกราคม 2560
) ค่าน้ำพักน้ำแรง ค่าเหน็จเหนื่อยจากการทำงานเพื่อชาติ คือเงินที่ไหลเข้าบัญชีธนาคารของข้าราชการส่วนราชการอื่นจะไม่รู้สึกอะไรที่ผิดปกติ แต่หากเป็นข้าราชการครูครูและบุคลากร พร้อมด้วยลูกจ้างประจำ สพฐ. จะเปลี่ยนไป หากใครมีเงินเหลือเฝือไม่เคยสนใจสลิปเงินเดือนที่ฝ่ายการเงินแจ้งแต่ละเดือน หรือไม่เคยใช้บริการรับ SMS จากแบงค์ จะรู้สึกเฉยๆ แต่หากท่านใดต้องวางแผนใช้เงินเดือนชนเดือน นั่งคำนวณบวกลบคูณหารจัดสรรค่าใช้จ่าย ณ วันเงินเดือนออก ท่านจะรู้ว่า ผิดสังเกตอย่างแน่นอน เงินได้จะลดลง  อย่าเพิงโวยวาย อย่าเพิ่งโทษเจ้าหน้าที่การเงินของหน่วยงาน ได้โปรดฟังทางนี้….

 

“กรมบัญชีกลางพร้อมจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ จากกรมบัญชีกลางเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ข้าราชการ และลูกจ้างประจำของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยเริ่มเดือนมกราคมเป็นเดือนแรก” เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ของกรมบัญชีกลางท่านให้ข่าว หมายความว่าอย่างไร

 

เดิมที่เดียว ส่วนราชการวางฎีกาขอเบิกเงินเดือน/ค่าจ้างประจำตามบัญชีถือจ่ายกับกรมบัญชีกลาง(คลังจังหวัด) และเมื่อกรมบัญชีกลาง(คลังจังหวัด) ตรวจและอนุมัติฎีกา รวมทั้งอนุมัติการจ่ายเงินแล้วจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญขีส่วนราชการ จากนั้นส่วนราชการจะทำการหักเงินชำระหนี้ให้แก่เจ้าหน้าที่ของผู้มีสิทธิและนำเงินที่เหลือสุทธิจ่ายให้กับข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ซึ่งส่วนใหญ่จะโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร 

 

ก่อนหน้านี้  มีการปรับเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำในระบบ GFMIS กรมบัญชีกลางทำการขอเบิกเงินเดือน ค่าจ้างประจำในระบบ GFMIS และโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้มีสิทธิ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ตามข้อมูลที่ส่วนราชการจัดทำรายละเอียดเงินเดือนและค่าจ้างประจำส่งกรมบัญชีกลาง

 

แต่อันไหม่ กรมบัญชีกลางได้จ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เรียกว่า ระบบDirect Payment โดยระบบจ่ายตรงเงินเดือนนี้จะดำเนินการโอนเงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเดียวกับเงินเดือนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของผู้มีสิทธิโดยตรง ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นนานแล้วเป็นนโยบาย กรมบัญชีกลางได้ให้ส่วนราชการเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 ซึ่งปัจจุบันมีส่วนราชการเข้าร่วมแล้ว 224 ส่วนราชการ โดย สพฐ. เป็นหน่วยงานสุดท้ายที่เข้าร่วมโครงการ มีผลเดือนมกราคม 2560 นี้ 

 

โดยกรมบัญชีกลางอ้างประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของส่วนราชการ คือ ลดขั้นตอนการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารขอเบิกและการโอนเงิน สามารถทำงานตามภารกิจหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร และตัวกรมบัญชีกลางเองจะมีระบบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐครบถ้วน เต็มรูปแบบ ใช้ทรัพยากรที่มีอยูให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดต้นทุนในการดำเนินการเบิกจ่าย สรุปโดยรวมเป็นประโยชน์ต่อการบริหารเงินสดและเงินคงคลังของประเทศ มีฐานข้อมูลในการบริหารบุคลากรและงบประมาณทั้งระบบ

 

 

และอ้างอิงท้ายว่า เพื่อให้เป็นไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 ที่ให้ส่วนราชการผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน (เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ) แปลว่า ในวันจ่ายเงินเดือนฯเข้ากระเป๋า จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ในวันนั้น แปลว่า เงินเข้ารัฐ รัฐมีเงินไปบริหารประเทศ แปลว่า ครู สพฐ. จะต้องถูกหักภาษีทุกเดือน ซึ่งเดิมที่สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่หักไว้ก็ได้ หักเท่าใดก็ได้ หรือไม่หักไว้ก็ได้ เพราะสะดวกในการคำนวณตอนจ่ายภาษีให้สรรพากร ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีเวลาไปก็ปลายๆ เดือนมีนาคม ถึงเป็นมูลเหตุ เงินเข้ากระเป๋าในเดือน มกราคม 2560 จะลดลง เงินเดือนน้อยก็ลดน้อย เงินเดือนมากก็ลดมาก

 

โครงการจ่ายตรงคืออะไร?

ระบบจ่ายตรงเงินเดือนของกรมบัญชีกลาง (Direct Payment) จะดำเนินการโอนเงินเดือน(รวมทั้งบำนาญ) ค่าจ้างประจำ ค่าตอบแทน เงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเดียวกับเงินเดือน และเงินอื่นๆตามสิทธิ์ เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของผู้มีสิทธิโดยตรงตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด (ซึ่งเหลือจากการหักภาษีเงินได้ และภาระหนี้สินแล้ว)

 

ระบบเดิมก็ดีอยู่แล้วเปลี่ยนทำไม?

ถึงไม่มีระบบการจ่ายตรง กรมบัญชีกลางก็สามารถจ่ายเงินให้กับข้าราชการและลูกจ้างประจำ จำนวนสองล้านกว่าคนทั่วประเทศได้อยู่แล้วตามระบบเดิม แต่ในแง่ของกรมบัญชีกลางซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการบริหารการเงินการคลังของประเทศ ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อต้องการรวบรวมข้อมูลบุคลากรภาครัฐทั้งหมด ให้อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญสำหรับการบริหารงานบุคลากรภาครัฐในอนาคต สามารถตอบสนองความต้องการด้านข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการนำข้อมูลไปใช้กำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ และพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

 

ระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจํา เป็นระบบงานแบบ Web Applicationที่กรมบัญชีกลางให้บริการกับ ส่วนราชการ ในลักษณะ ASP (Application Service Provider) เพื่อให้ส่วนราชการสามารถ เข้ามาทํางาน ตั้งแต่การจัดทําคําสั่ง (Option)การบันทึกคําสั่ง การเปลี่ยนแปลงของขาราชการ/ลูกจ้างประจํา ในระบบฐานข้อมูล การประมวลผลเพื่อการขอเบิกจ่ายเงินกับกรมบัญชีกลางผ่านระบบ GFMIS ซึ่งระบบจ่ายตรงฯจะทําการ ตรวจสอบความถูกต้อง จนถึงการดําเนินการโอนเงินเดือน ค่าจ้างประจํา ค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะเดียวกันเขาบัญชี เงินฝากธนาคารพาณิชย์ของขาราชการ/ลูกจ้างประจําโดยตรง โดยผู้ใช้งานจะต้องใช้อุปกรณ์ยืนยันตัวบุคคล (Token Key) เป็นหลักฐาน ในการพิสูจน์ตัวตนต่อระบบในการเข้าใช้ระบบงาน

 

ในแง่ของส่วนราชการผู้เบิก ก็สามารถลดขั้นตอนการทำงานได้ โดยไม่ต้องทำการโอนเงินให้กับบุคลากร ของหน่วยงานเอง รวมถึง กบข. และ กสจ. เพราะกรมบัญชีกลางจะเป็นผู้ดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินให้กับข้าราชการ ลูกจ้าง และผู้มีสิทธิ เมื่อส่วนราชการไม่ต้องดำเนินการดังกล่าว ค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณเพื่อการดังกล่าวก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน เมื่องานลดลงจะทำให้บุคลากรของหน่วยงานมีเวลาที่จะไปดำเนินงาน ด้านอื่นที่เป็นหน้าที่หลักของส่วนราชการนั้นๆ แทน นี่คือเหตุผลที่ดีที่เปลี่ยนระบบ

 

 

ระบบจ่ายตรง จ่ายอะไรบ้าง หักอะไรบ้าง? 

ค่าใช้จ่ายและเงินต่างๆที่ระบบจะจ่ายตามโครงการจ่ายตรงฯ ได้แก่ งบบุคลากร(เช่น เงินเดือน / ค่าจ้างประจำ เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ เงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายควบเงินเดือน หรือเงินตอบแทนนอกเหนือจาก เงินเดือน เช่นค่าตอบแทนเท่าเงินวิทยฐานะเป็นต้น) งบดำเนินงาน (เช่น เงินตอบแทนพิเศษ เงินค่าเช่าบ้าน เงินค่าตอบแทนรถประจำตำแหน่งในบางตำแหน่ง เป็นต้น ) และงบกลาง (เช่น เงินสมทบ ชดเชย กบข./กสจ.)

 

ส่วนเงินที่ระบบจะหักจากเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ได้แก่ เงินที่มีกฎหมายกำหนดให้หักจากเงินเดือนและค่าจ้างประจำ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินสะสม กบข หรือ กสจ) และเงินที่ไม่มีกฎหมายกำหนดให้หักจากเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ได้แก่ หนี้ที่ต้องชำระให้แก่ส่วนราชการ  

 

หน้าที่กรมบัญชีกลางทำอะไรบ้าง?

กรมบัญชีกลาง จะดำเนินการโอนย้ายข้อมูลการขอเบิกเงินเดือน/ ค่าจ้างประจำ ตามที่ส่วนราชการแจ้งตรวจสอบและอนุมัติเบิกเงินต่าง ๆ ที่ส่วนราชการขอเบิก ในระบบ GFMIS ดำเนินการโอนเงิน ได้แก่  กบข./กสจ. (โอนเข้าบัญชีกบข./กสจ.) ภาษี (โอนเข้าบัญชีรายได้แผ่นดินของกรมสรรพากร) หนี้ส่วนราชการ (โอนเข้าบัญชีส่วนราชการ) ส่วนเงินเดือน/ค่าจ้างสุทธิ (โอนเข้าบัญชีผู้มีสิทธิ) สำหรับหนี้อื่นๆ เช่น ธนาคาร สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ประกันชีวิต เป็นหน้าที่ส่วนราชการหักและส่งให้เจ้าหนี้เอง

 

 

ส่วนราชการผู้เบิกต้องทำอะไรบ้าง? 

ระบบงานตามโครงการจ่ายตรง มีระบบย่อยๆ ได้แก่ ระบบบัญชีถือจ่าย ระบบการจ่ายเงินเดือน ระบบทะเบียนประวัติ และระบบข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติจะมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติได้ เพราะผ่านการอบรมจากกรมบัญชีกลางที่จัดให้  ส่วนราชการผู้เบิก เช่น ส่วนราชการส่วนกลางคือ สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาที่กำหนดเป็นหน่วยเบิก มีหน้าที่ ดังนี้

 

1.จัดทำ(ติดตั้ง) ระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำในระบบ Token Key ซึ่งระบบนี้เป็นช่องทางในการใช้ระบบ GFMIS โดยผ่านเครือข่าย Internet  โดยกรมบัญชีกลางจะมอบอุปกรณ์ Token Key และ Software ด้านการรักษาความปลอดภัยในการติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์  ส่วนราชการที่เหมาะสมในการใช้ระบบนี้คือส่วนราชการที่ ไม่มีเครือข่ายและ Lease Line ถึงกรมบัญชีกลางโดยตรง โดยกรมบัญชีกลางจะเป็นผู้พิจารณาให้ส่วนราชการที่จะใช้ระบบนี้แต่ละกรณี สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาที่กำหนดเป็นหน่วยเบิกให้ใช้วิธีนี้  (Token Key คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบหรือพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งานในการเข้าใช้ระบบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีลักษณะภายนอกคล้าย Thumb drive แต่ไม่ใช่ Thumb drive โดยผู้ใช้งานต้องมีทั้งอุปกรณ์และรหัสผ่านในการพิสูจน์ตัวตน สำหรับ Token key ให้ทำการเสียบที่คอมพิวเตอร์ แล้วเข้าสู่การบันทึกข้อมูล)

 

2. แนวทางการดำเนินงาน ในแต่ละเดือน ได้แก่ การบันทึกการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ  เช่น  บรรจุ  แต่งตั้ง  เลื่อนเงินเดือน โยกย้าย พ้นจากราชการ ฯลฯ ประมวลผลการเบิกเงินเดือน/ค่าจ้างประจำ ส่งเอกสารการขอเบิกเงินเดือน/ค่าจ้างประจำในแต่ละเดือนให้กรมบัญชีกลางภายในวันที่ 12 ของเดือน กรณีมีการแก้ไข ต้องส่งให้กรมบัญชีกลางภายในวันที่ 17 ของเดือน

 

3. การหักเงินชำระหนี้  ให้เจ้าหนี้ประสานขอความร่วมมือกับส่วนราชการให้ดำเนินการหักเงินโดยส่วนราชการกำหนดหนี้ที่จะบริการหัก ซึ่งผู้มีสิทธิมีหนังสือยินยอมให้หักเงินกับเจ้าหนี้หรือส่วนราชการ ส่วนราชการดูแลเรื่องการเรียงลำดับหนี้ แต่จำนวนหนี้ที่แจ้งหักแต่ละบุคคลไม่เกินจำนวนเงินเดือน/ค่าจ้างประจำสุทธิที่เหลือหลังหักภาษี และค่าธรรมเนียมธนาคาร(ถ้ามี) และกรมบัญชีกลางจะนำเงินที่ส่วนราชการแจ้งว่าเป็นรายการหนี้ส่วนราชการเข้าบัญชีส่วนราชการเอง

 

หน้าที่ของผู้มีสิทธิ์รับเงิน (ผู้ถูกหักเงิน)ทำอะไรบ้าง? 

1.ก่อนใช้ระบบนี้ส่วนราชการหรือหน่วยงานเบิกจะแจ้งให้ผู้มีสิทธิ์ กรอกข้อมูลตามแบบสำรวจเพื่อประโยชน์ในการนำไปประกอบการเบิกจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างประจำของข้าราชการตามโครงการจ่ายตรงเงินเดือนของกรมบัญชีกลาง ทั้ง


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook