เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » บทความด้านการศึกษา » ครูป.1 ต้องทำอย่างไร ให้เด็ก อ่านออก เขียนได้ อ่านที่นี่!

ครูป.1 ต้องทำอย่างไร ให้เด็ก อ่านออก เขียนได้ อ่านที่นี่!

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 9 เม.ย. 2561 03:19:39 น. เข้าชม 166353 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ครูป.1 ต้องทำอย่างไร ให้เด็ก อ่านออก เขียนได้ อ่านที่นี่!
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : บทความด้านการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ครูป.1 ต้องทำอย่างไร ให้เด็ก อ่านออก เขียนได้ อ่านที่นี่!
ครูป.1 ต้องทำอย่างไร ให้เด็ก อ่านออก เขียนได้ อ่านที่นี่!

ครูป.1 ต้องทำอย่างไร ให้เด็ก อ่านออก เขียนได้ อ่านที่นี่! 


เด็กจบ ป.๑ จะอ่านออกเขียนได้ ตามเป้าหมายข้อ ๑ ของซูปเปอร์บอร์ดแห่งนายกรัฐมนตรีนั้น “ทุ่งสักอาศรม” เชื่อว่าสามารถทำให้เป็นไปได้จริง ๑๐๐% ครับ แต่โรงเรียนโดยผู้บริหารสถานศึกษาและครู ป.๑ จะต้องปฏิบัติการ “ประกันผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม” ดังต่อไปนี้ครับ


๑. ครู ป.๑ ต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
๑.๑ ครู ป.๑ ต้องมีทักษะอ่านออกเขียนได้ รวมทั้งออกเสียงชัดอักขระ และผันเสียงวรรณยุกต์ถูกต้องเป็นอย่างดี (เคยพบว่าครู ป.๑ บางท่านอ่อนภาษาไทยมากๆ เช่นอ่านไม่คล่อง เขียนตามคำบอก คำ ป.๑ จำนวน ๒๐ คำ ได้ไม่ถึง ๑๐ คำก็มี แม้อาจจะเป็นเพียงครูส่วนหนึ่งที่ไม่ใช่ครูส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ถ้าโรงเรียนใดยังจัดให้ครูที่มีคุณลักษณะดังที่กล่าวนี้สอน ป.๑ ก็ยากที่จะบรรลุผล)
๑.๒ ครู ป.๑ ต้องมีความสามารถในการสอนแบบ “แจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง”
๑.๓ ครู ป.๑ ต้องตั้งใจสอน ตั้งใจฝึกทักษะเด็กอย่างต่อเนื่อง ไม่ทิ้งห้องสอน เป็นคนใจดี อ่อนโยน และมีความสามารถเข้าถึงเด็กเป็นรายบุคคล




๒. จำนวนเด็ก ป.๑ ต่อห้องไม่ควรเกิน ๒๕ คน เพื่อให้ครูสามารถใส่ใจดูแลเด็กได้ทั่วถึง และควบคุมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓. โรงเรียนต้องจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาไทย ป.๑ วันละ ๒ ชั่วโมง ช่วงเช้า ๑ ชั่วโมง และบ่าย ๑ ชั่วโมง




๔. โรงเรียนต้องบริหารจัดการให้ครูและเด็ก ป.๑ ไม่ถูกกระทบเวลาเรียนและเวลาสอนตามที่กำหนดในข้อ ๓ (ที่ผ่านมาพบว่าทั้งกิจกรรมวิชาการ มหกรรมวิชาการ กิจกรรมกีฬาที่เกินขอบเขต กิจกรรมตามโครงการต่างๆ ที่โรงเรียนรับมาจากหน่วยเหนือ กิจกรรมอบรมครูที่มีมากแต่ได้ผลน้อย ฯลฯ ล้วนแต่มีผลทำให้ครู ป.๑ ไม่ได้สอน ไม่ได้ฝึกเด็กอย่างเท่าที่ควรจะเป็น)


๕. สพฐ. และโรงเรียนจะต้อง “ปรับลดสาระวิชา” ที่กำหนดให้เด็ก ป.๑ เรียน เพราะที่ผ่านมาพบว่าเรื่องนี้เป็นเหตุปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ทำให้เด็ก ป.๑ ต้องเรียนมากเกินไป จนเด็กล้า ขาดความสุข ขาดพลังชีวิต และพลอยให้ไม่ใส่ใจการฝึกทักษะ ย่อหย่อนและการเรียนอ่อนทุกสาระ

๖. ครู ป.๑ จะต้องสอนภาษาไทยด้วยวิธีนำแบบฝึกมาเขียนขึ้นกระดานหรือเขียนชาร์ตสำหรับ แขวนหน้าห้อง เพื่อ “เป็นเป้านำสายตาเด็ก” ให้พุ่งตรงมายังแบบฝึกอ่าน “แจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง” โดยที่ขนาดตัวอักษรจะต้องโตพอให้เด็กทุกคนในห้องมองเห็นชัดเจนร่วมกัน (แม้มีหนังสือเรียนและแบบฝึกที่ดี แต่ถ้าครูไม่เขียนกระดานหรือเขียนชาร์ต มุ่งแต่สอนโดยให้เด็กดูจากหนังสือเป็นส่วนสำคัญก็จะไม่ได้ผล เพราะเด็กจะไม่ค่อยสนใจดูตาม เบื่อง่าย แล้วในที่สุดก็ดูบ้าง ไม่ดูบ้าง และอาจดูคำไม่ตรงกับที่ครูสอนอีกด้วย นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้การสอนเด็ก ป.๑ ที่ผ่านมาล้มเหลว เรื่องนี้ครูรุ่นโบราณท่านเป็นตัวอย่างที่ดี ท่านเขียนกระดานดำนำเด็กอ่านเขียนทุกวัน)

๗. ครู ป.๑ จะต้องมีไม้สำหรับชี้นำสายตาเด็กไปที่กระดานดำ โดยที่ไม้ชี้นั้นจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๑๓๐ เซ็นติเมตรขึ้นไป เพื่อให้สะดวกในการชี้ไปที่คำอ่านบนกระดานโดยครูไม่ยืนบังเด็ก

๘. “ทุ่งสักอาศรม” ได้พิสูจน์เชิงวิจัยพบว่าการสอน “แจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง” ที่ได้ผลดี่ยิ่งนั้น จะต้องสอนด้วย “บันไดทักษะ ๔ ขั้น” ดังนั้น ครู ป.๑ ที่จะสอนเด็กให้ “อ่านออกเขียนได้” อย่างได้ผล จะต้องสอนด้วยหลักบันไดทักษะ ๔ ขั้น คือ
๘.๑ ขั้นที่หนึ่ง ครูนำเด็กเปล่งเสียง “แจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง” ตามแบบฝึกประมาณแบบฝึกละ ๓-๔ เที่ยว
๘.๒ ขั้นที่สอง ครูนำเด็กเปล่งเสียง “อ่านคำ-อ่านเรื่อง” ตามแบบฝึกประมาณแบบฝึกละ ๓-๔ เที่ยว
๘.๓ ขั้นที่สาม ครูให้เด็ก “คัดลายมือ” จากคำและเรื่องที่อ่านในข้อ ๘.๒ จำนวน ๑ เที่ยว ข้อนี้เด็กจะต้องมี “สมุดคัดลายมือ” คนละ ๑ เล่ม
๘.๔ ขั้นที่สี่ ครูให้เด็ก “เขียนตามคำบอก” จากคำที่คัดลายมือในข้อ ๘.๓ จำนวน ๑ เที่ยว ข้อนี้เด็กจะต้องมี “สมุดเขียนตามคำบอก” กันอีกคนละ ๑ เล่ม และนอกจากนี้ สำหรับการเขียนตามคำบอกที่ดี ครูจะต้องจัดให้เด็กนั่งห่างกันประมาณ ๑ เมตร (เฉพาะในช่วงเขียนตามคำบอกเท่านั้น) เพื่อให้เด็กชะโงกดูคำของกันและกันไม่ได้ จะฝึกให้เด็กรับผิดชอบตนเอง และเมื่อครูพบว่าแบบฝึกใดมีเด็กคนใดเขียนตามคำบอกไม่ได้ ครูจะต้องวิเคราะห์หาความผิดพลาด แล้วหาเวลาสอนซ่อมเสริมให้ทันท่วงที ไม่ปล่อยไว้จนเป็นปัญหาสะสม
…หลักการสอนแบบบันไดทักษะ ๔ ขั้น สรุปเป็นร้อยกรองให้จำได้ง่ายคือ
@ ขั้นที่หนึ่ง-แจกลูกให้ผูกจำ
ขั้นที่สอง-อ่านคำย้ำวิถี
ขั้นที่สาม-คัดลายมือซ้ำอีกที
ขั้นที่สี่-เขียนคำบอกทุกชั่วโมง

๙. แบบฝึกจากหนังสือเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด หรือหนังสือที่ผู้เขียนคนใดหรือคณะใดเขียนขึ้นก็ตาม ก็เป็นอีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การฝึกทักษะอ่านออกเขียนได้ระดับ ป.๑ บรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริงเพียงใดหรือไม่ แต่สำหรับแบบฝึกที่ “ทุ่งสักอาศรม” ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างได้ผลเป็นที่ประจักษ์แล้วคือ “เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว” ของ ผศ.ศิวกานท์ ปทุมสูติ (ตามภาพปกที่ประกอบบทความนี้) และในหนังสือนี้ยังมีคำทดสอบให้เด็กเขียนตามคำบอกเมื่อการเรียนการสอนจบครบ เนื้อหาแล้วอีก ๒ ชุดด้วย

ถ้าผู้บริหารสถานศึกษาและครู ป.๑ สามารถจัดและดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้ครบตามที่กล่าวมาทั้ง ๙ ข้อนี้ ก็เชื่อว่า “เด็กจบ ป.๑ จะอ่านออกเขียนได้ และสามารถพิสูจน์เขียนตามคำบอกจากคำตามมาตรฐาน ป.๑ ได้อย่างเป็นรูปธรรม” แน่นอน!

………………
ทุ่งสักอาศรม

ขอบคุณที่มา : oknation.nationtv.tv


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ บทความด้านการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : บทความด้านการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook