เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » บทความด้านการศึกษา » “AI” จะแทนที่ครูได้อย่างไร ในเมื่อโจทย์ใหญ่คือ การสร้างคนและสังคม

“AI” จะแทนที่ครูได้อย่างไร ในเมื่อโจทย์ใหญ่คือ การสร้างคนและสังคม

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 10 ก.ย. 2563 12:24:50 น. เข้าชม 166285 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
“AI” จะแทนที่ครูได้อย่างไร ในเมื่อโจทย์ใหญ่คือ การสร้างคนและสังคม
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : บทความด้านการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
“AI” จะแทนที่ครูได้อย่างไร ในเมื่อโจทย์ใหญ่คือ การสร้างคนและสังคม
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกส่วนของการใช้ชีวิต ไม่เว้นแม้ในด้านการศึกษา หลายคนอาจมองว่า AI จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์ แต่ในฐานะครู ซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาการศึกษา ภายใต้โจทย์ใหญ่ของการสร้างคน และ สร้างสังคม จึงเป็นไปไม่ได้เลยว่าหุ่นยนต์จะมาทำหน้าที่ตรง

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกส่วนของการใช้ชีวิต ไม่เว้นแม้ในด้านการศึกษา หลายคนอาจมองว่า AI จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์ แต่ในฐานะครู ซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาการศึกษา ภายใต้โจทย์ใหญ่ของการสร้างคน และ สร้างสังคม จึงเป็นไปไม่ได้เลยว่าหุ่นยนต์จะมาทำหน้าที่ตรงนี้แทนได้ แต่ขณะเดียวกัน หน้าที่สำคัญของครู คือ การสามารถนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่มี มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายและเชื่อมโยงสู่โลกอนาคต

 

ธานินทร์ ทิมทอง ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด กิจกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา กล่าวว่า “โมเดลที่เลิร์น เอ็ดดูเคชั่นทำ คือ การเรียนรู้แบบผสมผสานในห้องเรียน โดยเริ่มจากวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ก่อน ทำเป็นโมเดลโซเชียลเอ็นเตอร์ไพร์ คือ ขายให้โรงเรียนที่มีกำลังซื้อ และไปช่วยโรงเรียนที่ขาดโอกาส ซึ่งปัจจุบันเราเข้าถึงโรงเรียนกว่า 150 โรงเรียนทั่วประเทศ มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน  ทำให้เราได้เห็น สิ่งหนึ่งคือ ทุกครั้งที่เราจัดอบรมสัมมนาครู มีครูให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมาก ครูแย่งมากันเต็มเลย มันผิดกับที่หลายๆ คนพูดว่าครูไม่ค่อยแอคทีฟ พอเริ่มมีโครงการของกระทรวงฯ อย่าง “คูปองครู” ขึ้นมา เราก็เลยลองยื่นหลักสูตรไปดู ปีแรก (2560) เรายื่นโฟกัสไปที่กลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ และพอปีที่ผ่านมา (2561) เราโฟกัสในกลุ่มสาระวิชาที่กว้างขึ้น เพิมเติมหลักสูตรที่ตอบโจทย์และเป็นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทั้งเรื่อง STEM Education, ครูสอนคิด, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, เทคนิคการเล่าเรื่อง, วิธีการสื่อสารต่างๆ  หรือกิจกรรมการเล่น เล่นอย่างไรให้ได้เรียนรู้ สอนเรื่องเกม หรือแม้กระทั้งวิชาชนะใจ ทำอย่างไรให้ชนะใจเด็กๆ ได้ เป็นต้น ขณะนี้ เปิดมา 2 ปี ปีนี้ (2562) เข้าปีที่ 3

 

ที่ผ่านมา ครูให้ความสนใจพอสมควร ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องของคูปองครู ซึ่งไปผูกกับวิทยฐานะต่างๆ ซึ่งครูจะคาดหวังว่าหลักสูตรที่มาเรียนจะได้ประโยชน์ แต่สิ่งที่เราพยายามจะส่งต่อให้ครู คือ เขามาเรียนมาอบรมกับเรา เขาต้องรู้สึกได้เกินคาด คำว่าเกินคาด คือ ดูแลเขาเป็นอย่างดี มีวิทยากรที่มีคุณภาพ และการซัพพอร์ตในเรื่องของสื่อการเรียนการสอนที่เขาสามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งมันจะเป็นสิ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระเขาได้อีกทางหนึ่ง เช่น STEM เราจะให้ STEM Box ไปเลย ครูสามารถนำไปจัดกิจกรรมในห้องเรียนได้เลย หรือ Coding เราก็มีโปรแกรมใส่ทรัมป์ไดรฟ์ให้

 

AI ไม่สามารถแทนครูได้

 

ธานินทร์ กล่าวถึงการศึกษาในโลกอนาคตว่า เราต้องย้อนไปที่โจทย์ของการศึกษาว่ามันคืออะไร โจทย์ใหญ่ก็คือ การสร้างคน และการสร้างสังคม ซึ่งการสร้างคนแน่นอนว่าทำอย่างไรให้คนเป็นคนดีและมีคุณภาพ สร้างสังคม คือ สังคมที่อยู่มีความปกติสุข อยู่ร่วมกันได้ และเอื้ออาทรกัน พอโจทย์เป็นแบบนี้ หลายๆ คนมองว่า โลกอนาคตมี AI เข้ามา มันต้องเปลี่ยนรูปแบบไปทั้งหมด ผมคิดว่ามันไม่ถึงขนาดนั้น ถ้าเราบอกว่า ความรู้อย่างเดียว เดี๋ยวเทคโนโลยีมาแทนได้ อันนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วย เพราะความรู้มันกระจัดกระจายและหาได้หมด ถ้าใช้เครื่องมือเป็น หาความรู้ได้แน่นอน

 

แต่สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ ก็คือ “คุณครู” ซึ่งเป็นคนสำคัญในการสร้างคาแรคเตอร์ ปลูกฝัง ความคิดดีๆ ให้กับนักเรียนและบุตรหลาน รวมไปถึงทักษะอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น พอพูดถึงการเรียนการสอนในโลกอนาคตและมีโจทย์สำคัญแบบนี้ เราจึงคิดว่ามันต้องมี 3 ส่วนสำคัญ ทั้งในเรื่องของ ความหลากหลาย การเรียนการสอนในยุคที่เราผ่านมามี 2 รูปแบบ ครูสอนอยู่หน้าชั้น มาเล่าให้ฟังและเฉลยโจทย์ กับ รูปแบบที่สองคือ ครูติดธุระแล้วให้เพื่อนที่เก่งๆ มาบอกให้เราจดตาม และเราก็จดตามกันจนดินสอแทบจะกุด แต่รูปแบบนั้น สำหรับเด็กยุคใหม่มันทำไม่ได้ ต้องมีความหลากหลาย มีกิจกรรม กระบวนการ เครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาผสมในการเรียนรู้มากขึ้น ต้องมีแพลตเทิร์น ที่หลากหลายมากขึ้น นี่คือความสำคัญอันดับแรก

 

สองคือ ความเชื่อมโยง หลายๆ คนคิดว่าจะเรียนเลขไปทำไม ย้อนไปตอนเด็กๆ เราตอบไม่ได้ เราตอบได้แค่ว่าพ่อแม่ส่งให้เรียนก็ต้องเรียน ตั้งใจให้เต็มที่ แต่เด็กสมัยนี้ หรือสมัยถัดไป ถ้าเขาไม่รู้ว่ามันมีคุณค่า ไม่รู้ความหมายว่ามันสำคัญต่อชีวิตเขาอย่างไร การเรียนรู้มันจะไม่สุด เขาก็จะเรียนไปอย่างนั้น ดังนั้น การเรียนการสอนในยุคถัดไป ต้องเชื่อมโยงกับอนาคตเขา และ สาม การสร้างความเป็นมนุษย์ อย่าลืมว่าคาแรคเตอร์ของคนและวิธีคิดของคน เราต้องปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ทำอย่างไรให้เขาเป็นคนกตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์ สุจริต ฟังแล้วอาจจะแปลกใจว่ามันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีตรงไหน เพราะผมคิดว่า เทคโนโลยีมันจะแทรกซึมเข้าไปใน 3 เรื่องนี้ คือ ความหลากหลาย เอาเทคโนโลยีเข้าไปช่วยได้ไหม ส่วนความเชื่อมโยง ทำอย่างไรให้สื่อมันเข้าถึง และเด็กนึกภาพออกว่าจะเป็นประโยชน์กับเขา หรือแม้กระทั้งการสร้างจิตสำนึกต่างๆ ถ้าใช้เครื่องไม้เครื่องมืออย่างเหมาะสมก็จะช่วยได้ อย่าไปตั้งโจทย์ว่า เราต้องใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนในอนาคต

 

“ปรับใจ” รอรับเทคโนโลยี

 

ธานินทร์ กล่าวถึงการปรับตัวของครูว่า ต้องปรับใจก่อน เพราะเรามีความเชื่อว่า ถ้าเราเปิดใจรับฟังมากพอ เราจะเห็นสิ่งที่ดีกว่า และเมื่อเราเปิดใจ เราจะหันหน้าไปยังทิศทางที่ถูกต้อง ความยาก ความท้าทายของสมัยนี้ คือ ทุกคนชอบพูดภาพไกลๆ เทรนด์ที่กำลังจะมาในอนาคต อันนี้จะหายไป อันนั้นจะเข้ามาแทน สิ่งที่ยากคือ เราต้องทำอย่างไร ถ้ารู้ว่าเทรนด์ในอนาคตจะมาแบบนี้ เราก็ค่อยๆ ทำไปทีละเล็กละน้อย ปรับตัวเข้าไป ผมเชื่อว่าทุกวันจะเข้าใกล้จุดมุ่งหมายมากขึ้น และถ้าในเชิงรูปธรรม การปรับตัวตรงนี้คือการปรับตัวอะไร ผมว่าการปรับตัวในเรื่องของการปรับกระบวนการเรียนการสอน และการปรับการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในห้องเรียน ให้กับเด็กๆ นี่เป็นตัวสำคัญ

 

การเรียนรู้-ปรับตัว สำคัญกว่าเจเนอเรชั่น

 

จากประสบการณ์ในการทำงาน จาก 150 โรงเรียน เด็กประมาณ 5 หมื่นกว่าคน ครูหลักพันคน เราพบว่า ความแอคทีฟหรือไม่แอคทีฟ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ ถึงแม้ว่าในอนาคตภายใน 10 ปี ครูจะเกษียณออกไปประมาณ 2 แสนคน เป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนเจเนอเรชั่นครูครั้งใหญ่ แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องไปโฟกัสกับครูที่อายุน้อยเพียงอย่างเดียว เพราะจากเคสที่เราเคยทำ เอาเทคโนโลยีไปช่วยครู ช่วยนักเรียน มีครูท่านหนึ่งที่เชียงใหม่ ชื่อ ครูอัมรา รักชาติ เคยเป็นครูฝ่ายปกครองมา และต้องมาสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่องมือใหม่ๆ อายุ 58 ปี อีก 2 ปีเกษียณแล้ว ตอนแรกพวกเราก็กังวลกันมากว่าคุณครูจะเอากะเราไหม มีเทคโนโลยีใหม่ๆ และเราก็เป็นเด็กเมื่อวานซืนที่เพิ่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา แต่สิ่งที่พบ คุณครูบอกว่า “ช่วยสอนครูหน่อย ครูว่ามันดี” และเราก็มีทีมงานไปช่วยสอน จนครูท่านนี้กลายเป็นไอดอลของครูท่านอื่นๆ เลย เพราะเขาสามารถบูรณาการการเรียนการสอน ตัวเทคโนโลยี และวิชาวิทยาศาสตร์ ได้อย่างลงตัวที่สุด จนท่านบอกว่า “ทำไมครูเกิดเร็วไป น่าจะมีเวลาใช้เทคโนโลยีพวกนี้นานๆ”

 

หรือในขณะเดียวกัน ครูรุ่นใหม่ๆ ที่เจอ อย่าง ในก่อการครู ผมเห็นครูที่จบมา 2-3 ปี กล้าเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ กล้าเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนเต็มไปหมดเลย ถามว่าเจเนอเรชั่นมีผลไหม ผมว่าสิ่งที่มีผลมากกว่าเจเนอเรชั่นคือ การเรียนรู้ และการปรับตัว และการเปิดใจอย่างที่บอก ถ้าเราลงไปถูกจุดและเสริมเครื่องไม้เครื่องมือไปอย่างพอดี เราก็จะเป็นกำลังเสริมกำลังหนึ่ง ที่จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆ ในอนาคตดีขึ้นได้ แต่ก็ต้องฝากความหวังไว้ที่ครู ที่มีใจ มีทัศนคติ ในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เหล่านี้ด้วย

 

สำหรับครูรุ่นใหม่ที่ไม่เปิดรับก็มีเหมือนกัน มันเป็นเรื่องของการเลิร์นนิ่ง ธรรมชาติของคนที่เรียนรู้แบบไหนมา คิดว่าตัวเองมีความเชี่ยวชาญด้านไหนมา ก็จะยึดติดกับวิธีนั้นๆ จนกว่า จะสัมผัสได้เองว่าสิ่งนั้นมันไม่เวิร์ค ถ้ามีคนมาบอกว่าที่ทำอยู่มันไม่ใช่ ไม่มีทางเชื่อ แต่หลักสูตรที่เราทำก็คิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดี ถึงแม้ว่าจะมีครูบางส่วนที่ไม่เชื่อ แต่ได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน มันอาจจะเป็นช่องทางหนึ่งในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้เร็วขึ้นก็ได้ ดีกว่าปล่อยให้เขาเดินไปและไม่มีใครมาบอกเขาเลยว่า “มันมีทางเลือกอื่น”

 

“อย่างที่บอกว่า ภายใน 10 ปี มีครูเกษียณเฉลี่ยปีละ 2 หมื่นคน 10 ปีก็ 2 แสนคน ในขณะที่ครูทั้งระบบ 4 แสนคน แสดงว่าครูในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อายุเกิน 50 ปี พอผ่านไปเกือบ 10 ปีข้างหน้า มันจะเป็นการกระจายตัวของเจเนอเรชั่นที่หลากหลายนี่คือโครงสร้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะฉะนั้น สิ่งที่ท้าทายและถือเป็นโอกาส คือ ถ้าเราเร่งนำเสนอแนวทางที่ดี ที่ถูกต้อง เครื่องไม้เครื่องมือที่หลากหลายเหล่านี้ให้ครู เริ่มใช้เริ่มปรับตัว ในอนาคตการศึกษาจะเปลี่ยนหมด ที่หลายๆ คนไม่คิดว่าจะเปลี่ยนได้ แต่มันเกิดขึ้นจริง เพราะการเปลี่ยนเจอเนอเรชั่นเหล่านี้”

 

ความพร้อมของเครื่องไม้เครื่องมือ

 

“หากถามถึงเครื่องไม้เครื่องมือในปัจจุบันว่าพอไหม พอในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคำว่าพอหรือไม่พอ คือ มันได้มีการสื่อสารหรือกระจายไปสู่ครูอย่างทั่วถึงมากน้อยแค่ไหน ต้องทำสองเรื่องนี้ขนานกัน ถึงแม้ว่าเราจะทำเรื่อง Education Technology แต่เราก็ไม่ได้คิดว่าโซลูชั่นเราคือ สิ่งที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่น่าจะดีกว่าคือ มีหลายคนที่เก่งๆ มานำเสนอโซลูชั่นที่หลากหลาย และคุณครูเลือกโซลูชั่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ในการเรียนรู้ กับเด็ก กับพื้นที่ และช่วงอายุของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

 

สิ่งที่ขาดในตอนนี้ ย้อนกลับมาที่โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เรารู้ว่าโลกต้องไป 4.0 คอมพิวเตอร์, IOT หรือ AI กำลังมา แต่ไปดูในโรงเรียนไม่ต้องประจำตำบลหรอกครับ โรงเรียนประจำอำเภอบางที่ คอมพิวเตอร์ยังไม่ครบชั้นเลย เด็ก 5 คน รุมคีย์บอร์ดตัวหนึ่ง ถ้าสภาพแบบนี้ ถามว่าเราจะไป 4.0 จะไปได้ไหม ไปได้แต่ช้ามาก ดังนั้น เรื่องของ Infrastructure จึงสำคัญ เครื่องไม้เครื่องมือต้องพร้อม สองคือ ซอร์ฟแวร์หรือโซลูชั่นถึงตามมา ผมว่าพื้นที่ที่ยังขาดตอนนี้คือ กลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งเราได้ศึกษามาแล้วว่า การพัฒนาการในวัยเด็กสำคัญในระยะยาวมาก ทั้งการเรียนรู้และอื่นๆ ถ้ามีเครื่องไม้เครื่องมือปฐมวัยมากขึ้น ในการเสริมสร้างมันน่าจะช่วยเติมเต็มให้เป็นฐานที่ดีสำหรับการสร้างคนของประเทศเรา

 

โจทย์สำคัญถ้าต้องการให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาจริงๆ ต้องมองว่ามันเป็นโจทย์ร่วมของทุกคนในสังคม โดยมีรัฐบาลเป็นคนอำนวยความสะดวก และหาองค์กร หน่วยงาน หรือมูลนิธิเข้ามาสนับสนุน ทำให้แต่ละเรื่องมันเกิด และรวมพลังกัน ถ้าทำแบบนี้ มันจะเป็นโจทย์ที่ถูกต้อง และเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่แท้จริง

 

เทคโนโลยี แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

 

ธานินทร์ กล่าวว่า เทคโนโลยี แก้ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ 100% ถ้า Infrastructure พร้อม และมีการเปิดใจ เปิดรับจากคุณครูอย่างเหมาะสม ไม่ต้องถึงกับว่าคุณครูใช้เทคโนโลยี 100% แต่พยายามเปิดใจในการใช้เครื่องมือใหม่ๆ ตรงนี้ ง่ายๆ ในปัจจุบัน คุณครูส่วนใหญ่จะกระจุกอยู่ที่ในเมือง ที่มีนักเรียนเยอะ ขณะที่ครูตามต่างจังหวัด ครูคนหนึ่งสอน 4-5 วิชา ก็ไม่รู้ท่านจบอะไรมา แต่ต้องสอนทั้งไทย อังกฤษ สังคม พละ การันตีได้เลยว่าจะมีบางวิชาที่ท่านไม่เชี่ยวชาญแน่นอน วิชาที่ไม่เชี่ยวชาญเหล่านั้น ถ้ามีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมการเรียนการสอนของครู ให้มีคุณภาพมากขึ้น เด็กสนุกมากขึ้น เด็กมีส่วนร่วม การศึกษาก็จะกระจายไปสู่พื้นที่นั้นได้ความเหลื่อมล้ำก็ลดลงได้

 

“ภาพที่เราไปสัมผัสเอง คือ จริงๆ แล้ว โรงเรียนของเด็กกลุ่มนั้น ถ้าเขาได้รับโอกาส เขาจะตั้งใจไม่แพ้เด็กในเมืองเลย เราไปทำโรงเรียนหนึ่งที่บนดอยแม่แจ่ม บริจาคคอมพิวเตอร์ เอาโซลูชั่นไปลง เด็กที่นี่ตั้งใจมาก ทำคะแนนสอบได้ดีกว่าด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่เขาพูดไทยไม่ชัด มันสะท้อนว่า ถ้าทรัพยากรกระจายตัวอย่างเหมาะสม ความเหลื่อมล้ำมันจะลดลง เพราะความเหลื่อมล้ำเป็นโจทย์ใหญ่ที่สุดในประเทศเรา ซึ่งเรามองย้อนกลับไปที่โจทย์ของประเทศในเรื่องสังคม ก็คือ ความเหลื่อมล้ำ การที่จะแก้ความเหลื่อมล้ำได้ คือ การสร้างคน ผ่านการศึกษาที่ดี ทำอย่างไรให้คนรากหญ้าได้รับการศึกษาที่ดี โดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ.



ขอบคุณที่มา :  www.trainkru.com/ai-จะแทนที่ครูได้อย่าง/uncategorized/




☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ บทความด้านการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : บทความด้านการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook