เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » เล็งเออรี่รีไทน์ คนทำงานแบบเดิมๆ

เล็งเออรี่รีไทน์ คนทำงานแบบเดิมๆ

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 25 ส.ค. 2561 14:48:19 น. เข้าชม 166263 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
เล็งเออรี่รีไทน์ คนทำงานแบบเดิมๆ
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
เล็งเออรี่รีไทน์ คนทำงานแบบเดิมๆ
ย้ำกระทรวงอุดมฯต้องเป็นราชการน้อยลง ตอบโจทย์ประทศมากขึ้น”หมออุดม”ชี้คนกระทรวงใหม่

เล็งเออรี่รีไทน์ คนทำงานแบบเดิมๆ

ย้ำกระทรวงอุดมฯต้องเป็นราชการน้อยลง ตอบโจทย์ประทศมากขึ้น”หมออุดม”ชี้คนกระทรวงใหม่ ต้องมีวิสัยทัศน์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศ หากทำงานแบบเดิมๆเล็งให้เออรี่รีไทน์

วันนี้( 24 ส.ค.) ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย( RUN) จัดเสวนาเรื่องกระทรวงใหม่...โอกาสและความท้าทาย สำหรับมหาวิทยาลัย” โดยดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การจัดตั้งกระทรวงอุดม วิจัยและนวตกรรม ถือเป็นโอกาสและความท้าทายของมหาวิทยาลัย โดยกระทรวงใหม่มี 2 ภารกิจ คือ1. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวตกรรม และ2.เตรียมประเทศสู่ศตวรรษที่ 21 กระทรวงใหม่มี 8 หลักการ เช่น ต้องปรับประเทศไปสู่โลกที่ 1 ชี้นำทิศทางด้วยทุนวิจัยที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย มุ่งส่งเสริมองค์ความรู้และความสามารถในการวิจัยและสร้างนวตกรรมของภาครัฐ เอกชนและชุมชน มีการบริหารสมัยใหม่ มีการขับเคลื่อนไหลของบุคลากรได้อย่างคล่องตัว สร้างวัฒนธรรมที่เปิดรับความคิดเห็นและร่วมมือกัน และมีความอิสระบนพื้นฐานของภารกิจที่รับผิดชอบบนโจทย์และตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน และ 3 ปฏิรูป โจทย์สำคัญคือ ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและการเตรียมพร้อมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 และประเทศไทย 4.0 ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องมีบทบาท

“กระทรวงใหม่จะมีความเป็นระบบราชการน้อยลง ตอบโจทย์ประทศมากขึ้น รวมถึงต้องปฏิรูป เช่น กฏ ระเบียบต่าง ๆต้องเปลี่ยน เช่น อาจารย์สามารถทำงานวิจัยได้อย่างเต็มที่ และสามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้ โดยงบวิจัยจะมีลักษณะเป็นงบฯใช้มากกว่า 1 ปี ที่จะนำมาสนับสนุนอาจารย์และนักศึกษาให้ผลิตผลงาน ที่เป็นนวตกรรม เพื่อสร้างงานวิจัยชั้นนำของประเทศ ดังนั้นการจัดตั้งกระทรวงอุดม วิจัยและนวตกรรม จึงเป็นโอกาสและความท้าทายของมหาวิทยาลัย ส่วนความก้าวหน้าการจัดตั้งกกระทรวงการอุดมฯ ซึ่งในส่วนของกระทรวงวิทยฯ กำลังเร่งดำเนินการกฎหมายต่างๆ ทั้งร่างพ.ร.บ.วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ... อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง พ.ศ..ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะเป็นผู้ผลักดัน คาดว่าทั้ง 2 ฉบับจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนก.ย.นี้ คาดกระทรวงการอุดมฯเกิดขึ้นทันในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน”ดร.สุวิทย์ กล่าว

ด้านศ.นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีหน้าที่สร้างคนและ สร้างนวตกรรม ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยต้องผลิตคนที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และเชื่อมโยงกับกระทรวงอุดมฯ ที่ผ่านมาประเทศเดินไปข้างหน้าไม่ได้หรือเดินช้า เพราะติดเรื่องระบบปฎิรูปราชการ ซึ่งก็คือคน ขณะนี้มีข้าราชการ 5 ล้านคน ดังนั้นถ้าจะให้ประเทศเดินได้ต้องไล่ข้าราชการออกให้หมด แต่ก็ไม่ใช่ว่า 5 ล้านคนไม่ดี อย่างน้อยครึ่งหนึ่งดี แต่ระบบราชการไปครอบคนเหล่านี้อยู่ เมื่อให้ออกไปแล้วก็จะเปิดให้สมัครเข้ามาใหม่ โดยคัดเข้ามาเพียงครึ่งเดียว ส่วนที่เหลือจ่ายเงินให้เป็น 2 เท่า อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ทำได้ยาก และเป็นเพียงแนวคิด อย่างไรก็ตามคนทำงานกระทรวงใหม่จะต้องมีวิสัยทัศน์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศ หากคนทำงานแบบเดิม มีแนวคิดการทำงานไม่ตอบรับการทำงานใหม่ อาจจะเปิดให้มีการเออรี่รีไทน์ในอนาคต เพื่อจัดหาคนรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2561


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook