โพสต์โดย : Admin เมื่อ 17 เม.ย. 2560 12:38:15 น. เข้าชม 166365 ครั้ง
จากการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community)
“ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ ระหว่างวันที่ 1-6 เมษายน 2560 ณ.โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯภารกิจของสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการบรรยายของดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มีประเด็นที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบวิทยฐานะครู ซึ่งเว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมขออนุญาตนำมาเผยแพร่ให้คณครูได้รับทราบดังนี้ ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีประเด็นที่สำคัญในการพัฒนาครูในสังกัดดังนี้
1. การรับรองคอร์สอบรมที่มีคุณภาพเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ
2. ทิศทางการพัฒนาครู
3. Professional Learning Community (สังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ)
สำหรับทิศทางการพัฒนาครู ขออธิบายขยายความเกี่ยวกับ (ร่าง) การพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ ซึ่งในส่วนนี้ท่านสามารถดูภาพประกอบที่เกี่ยวข้องด้านล่างเพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้นนะครับ
ในการพัฒนาครูให้ได้รับวิทยฐานะจะครูผู้ช่วยไปสู่ครูเชี่ยวชาญพิเศษจะแบ่งออกเป็น 5 ระยะ และใช้ระยะเวลาในการดำเนินกระบวนการทั้งหมด 22 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ
ระยะที่ 1 ครูผู้ช่วย
เมื่อได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครู จะต้องเป็นครูผู้ช่วย 2 ปี ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มในระยะเวลานี้ยังไม่สามารถนับระยะเวลาเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะได้เพราะอยู่ในช่วงที่เรียกง่ายๆว่าช่วงทดลองงานครับ เมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มจำนวน 2 ปีแล้วก็จะเข้าสู่ระยะที่ 2 ครับ
ระยะที่ 2 ครูชำนาญการ
เมื่อผ่านเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มก็จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู (ครู คศ.1) โดยที่ในช่วงระยะนี้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. ความต้องการพื้นฐานคือชั่วโมงในการสอนจำนวนไม่น้อยกว่า 800ชั่วโมงต่อปี เมื่อคำนวนเวลาที่สามารถทำการสอนได้คือ 1 ปีการศึกษามี 200 วัน ถ้าต้องการให้ครบตามจำนวนคือต้องสอนวันละ 4 ชั่วโมง หรือ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นอย่างน้อยแต่ สพฐก็ใจดีให้สามรถนำชั่วโมงที่ได้พัฒนา PLC (Professional Learning Community)“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”มาคิดรวมได้
2. ต้องเข้าอบรมหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันคุรุพัฒนาและเป็นหลักสูตรที่อยู่ในหมวดของวิทยฐานะชำนาญการ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องอบรมกี่ชั่วโมงต่อปีและหลักสูตรใดบ้างที่อยู่ในหมวดนี้ ซึ่งหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรองนั้นมีหลักสูตรทั่วไปด้วย เพราะฉะนั้นจะต้องเลือกหลักสูตรที่จะอบรมให้รอบคอบที่สุดนะครับ
3. ต้องพัฒนาตนเองแบบ PLC (Professional Learning Community)“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ชั่วโมง PLC จะต้องผ่านการรับรอง จาก ผอ.โรงเรียน + Logbook ครับ
**เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี และคุณสมบัติพร้อมทั้ง 3 ข้อ ก็สามารถขอวิทยฐานะชำนาญการได้ครับ
ระยะที่ 3 ครูชำนาญการพิเศษ
หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการแล้วก็จะต้องพัฒนาตนเอง โดยที่ในช่วงระยะนี้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. ความต้องการพื้นฐานคือชั่วโมงในการสอนจำนวนไม่น้อยกว่า 800ชั่วโมงต่อปี เมื่อคำนวนเวลาที่สามารถทำการสอนได้คือ 1 ปีการศึกษา มี 200 วัน ถ้าต้องการให้ครบตามจำนวนคือต้องสอนวันละ 4 ชั่วโมง หรือ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นอย่างน้อยแต่ สพฐก็ใจดีให้สามรถนำชั่วโมงที่ได้พัฒนา PLC (Professional Learning Community)“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”มาคิดรวมได้
2. ต้องเข้าอบรมหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันคุรุพัฒนาและเป็นหลักสูตรที่อยู่ในหมวดของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องอบรมกี่ชั่วโมงต่อปีและหลักสูตรใดบ้างที่อยู่ในหมวดนี้ ซึ่งหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรองมีหลักสูตรทั่วไปด้วย เพราะฉะนั้นจะต้องเลือกหลักสูตรที่จะอบรมให้รอบคอบที่สุดนะครับ
3. ต้องพัฒนาตนเองแบบ PLC (Professional Learning Community)“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ชั่วโมง PLC จะต้องผ่านการรับรอง จาก ผอ.โรงเรียน + Logbook ครับ
** เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี และคุณสมบัติพร้อมทั้ง 3 ข้อ ก็สามารถขอวิทยฐานะชำนาญการพิเศษได้ครับ
ระยะที่ 4 ครูเชี่ยวชาญ
หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษแล้วก็จะต้องพัฒนาตนเองซึ่งมีรายละเอียดคล้ายกันคือ 1. สอนอย่างน้อย 800 ชั่วโมงต่อปี 2.อบรมตามหลักสูตรวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ 3. พัฒนาตนเองแบบ PLC เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี และคุณสมบัติพร้อมทั้ง 3 ข้อ ก็สามารถขอวิทยฐานะครูเชียวชาญได้ครับ
ระยะที่ 5 ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญแล้วก็จะต้องพัฒนาตนเองซึ่งมีรายละเอียดคล้ายกันคือ 1. สอนอย่างน้อย 800 ชั่วโมงต่อปี 2.อบรมตามหลักสูตรวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ 3. พัฒนาตนเองแบบ PLC เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี และคุณสมบัติพร้อมทั้ง 3 ข้อ ก็สามารถขอวิทยฐานะครูเชียวชาญพิเศษได้ครับ
*** โดยครูจะได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาสำหรับหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ 10,000 บาท/คน/ปี ซึ่งการเบิกจ่าย ไม่สามารถเบิกได้ทั้งหมด อาจเป็นค่าลงทะเบียนอบรมไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้ครูตัดสินใจ ในการอบรม ซึ่งจะให้เบิกในอัตราการเบิกค่าใช้จ่ายของราชการ
ท่านสามารถดูภาพประกอบเพิ่มเติมได้ดังนี้ครับ
ที่มา : การอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community)
ขอบคุณ : http://www.kruupdate.com/news/newid-2992.html