โพสต์โดย : Admin เมื่อ 24 ส.ค. 2561 09:57:01 น. เข้าชม 166330 ครั้ง
ปฏิเสธไม่ได้นะคะ ว่าเศรษฐกิจช่วงนี้ ค่อนข้างฝืดเคืองทีเดียวสำหรับผู้มีรายได้น้อย
ข้าวของแพงขึ้น ค่าจ้างยังเท่าเดิม
ในขณะที่บางธุรกิจ ก็ปลดพนักงาน โดยใช้เทคโนโลยี เข้ามาแทนที่
วันนี้เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ เว็บไซต์สำหรับผู้ที่ชอบงานอิสระ สุจริต จะมาแนะนำ 5 อาชีพเกษตร ที่ทำได้ไม่ยาก ลงทุนน้อย
เรียกว่า ถ้าคุณถูกเลิกจ้างวันนี้ มีต้นทุนสัก 1-5 พันบาท ก็ลงทุนทำได้เลย
อาชีพที่ 1 เพาะเห็ดฟางในตะกร้า
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
2. ขี้เลื่อยหรือวัสดุเพาะเห็ดชนิดอื่นๆ ที่ผ่านการเพาะมาแล้ว (วัสดุเหลือทิ้ง)
3. หัวเชื้อเห็ดฟาง
4. ตะกร้าพลาสติก
ขั้นตอนการทำ
ขั้นแรก นำฟางไปแช่น้ำ 1 คืน แล้วผึ่งให้หมาดๆ ชื้นๆ อีกครึ่งวัน (ให้เหลือความชื้นราว 10 เปอร์เซ็นต์ ลองบีบดูแล้วไม่มีน้ำหยด) ถ้าใช้ผักตบชวา ก็ต้องเป็นผักตบชวาตากแห้ง นำมารดน้ำ
จากนั้น นำฟางเรียงก้นตะกร้า (ปูพื้น) โรยด้วยขี้เลื่อย และตามด้วยหัวเชื้อเห็ดฟาง (ขี้เลื่อยและหัวเชื้อโรยขอบตะกร้า เพื่อให้ดอกเห็ดออกตามขอบตะกร้า เป็นชั้นๆ ขึ้นมา)
ทำซ้ำกันจนครบ 4 ชั้น เต็มตะร้า โดยชั้นสุดท้าย โรยขี้เลื่อยและหัวเชื้อ เต็มพื้นที่ (เพื่อให้ดอกเห็ดออกด้านบน จนเต็ม)
ขั้นสุดท้าย ครอบด้วยถุงพลาสติก (เห็ดต้องการความร้อน ชื้น)
หลังจากผ่านไป 4-5 วัน ให้สังเกต ถ้ามีละอองน้ำเป็นฝ้า เกาะที่ถุง ก็ใช้ได้ แต่ถ้าไม่มีต้องเปิดถุงรดน้ำ
ครบ 9-12 วัน เห็ดเริ่มออก (ช่วงวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 อย่าเปิดถุง มิเช่นนั้น ดอกจะชะงักการเติบโต)
หลังจากเห็ดออกแล้ว เก็บได้อีก 5 วัน จะได้เห็ดราว 2 กก.
หากเก็บเห็ดหมดแล้ว วัสดุเพาะเห็ดทั้งหมด นำไปทำปุ๋ยหมักต่อได้
การลงทุน
ตะกร้า 1 ใบ 40 บาท
หัวเชื้อเห็ดฟาง 15 บาท (ทำได้ 2 ตะกร้า)
ฟาง หรือ ผักตบชวา หาได้ทั่วไป
อาชีพที่ 2 เพาะถั่วงอกในโอ่ง
นางศรีนวล แก้ววัน อายุ 46 ปี จากโคราช ผู้ทำอาชีพเพาะถั่วงอกแบบโบราณ บอกขั้นตอนการทำมาว่า
ขั้นตอนแรกนั้น ต้องไปหาเลือกซื้อโอ่งขนาดความสูง 1.5 ฟุต กว้าง 1 ฟุต แล้วนำมาเจาะรู้ขนาดนิ้วก้อย 2 รูที่ก้นโอ่ง เพื่อให้น้ำสามารถซึมออกได้
ขั้นตอนที่ 2 ให้ซื้อเมล็ดถั่วเขียว คัดเกรด A ในปัจจุบันราคากิโลกรัม 60 บาท แล้วนำเมล็ดถั่วเขียวนั้นมาแช่ไว้ในกะละมังประมาณ 5 ชั่วโมงก่อน
ขั้นตอนที่ 3 นำเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว มาใส่ไว้ในโอ่งประมาณโอ่งละ 2 กิโลกรัม แล้วคลุมด้วยกระสอบทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้รากงอกออก
ขั้นตอนที่ 4 ให้เอาใบสะแกสด มาคลุมไว้ด้านบนเมล็ดถั่วเขียว แล้วเอาไม้ไผ่ขัดไว้ด้านบน
ขั้นตอนที่ 5 หมั่นรดน้ำใส่ในโอ่ง วันละ 4 เวลา ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 วัน
ส่วนขั้นตอนการคัดเอาเปลือกถั่วเขียวออกจากถั่วงอกนั้น ก็จะใช้พัดลมขนาดใหญ่ เป่า แล้วนำผ้ามุ้งมาปู และนำถั่วงอกมาใส่กระด้งเพื่อร่อนให้เปลือกถั่วเขียวปลิวออกจากถั่วงอก พอคัดได้ถั่วงอกล้วนแล้ว ก็เก็บใส่ถุงชั่งกิโลพร้อมนำไปขายได้แล้ว (ขอบคุณภาพและเนื้อข่าว จากนักข่าวภูมิภาคหนังสือพิมพ์มติชน ประจำ จ.นครราชสีมา )
อาชีพที่ 3 เพาะต้นอ่อนและไมโครกรีน ในเชิงการค้า
อาชีพที่ 4 ปลูกโหระพา-กะเพรา ข้างบ้าน สร้างรายได้เสริม
ทั้งกะเพรา และโหระพา เป็นพืชดูแลง่าย ไม่ค่อยเป็นโรค เก็บขายได้ทั้งปี แต่เพื่อให้เจริญงอกงามดี ก็แค่ใส่ปุ๋ยให้ 20 วัน ต่อครั้ง อาจจะใช้สูตร เสมอ หรือสูตร 46-0-0 ก็ได้
ถ้าต้นไหนแก่จัด ก็ตัดทิ้ง และการที่ตัดกิ่งมาเด็ดใบขาย ก็เท่ากับเป็นการตัดแต่งกิ่งไปในตัว อีกไม่นานก็แตกกิ่งใหม่
เมื่อตัดมาแล้ว ล้างน้ำ 1 ครั้ง จากนั้น เด็ดใบ เด็ดช่อ ใส่ฝาชี (หงาย) ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ทำให้ใบผักไม่เน่า
ราคารับซื้อ (เด็ดใบแล้ว) อยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท วันหนึ่งเก็บได้ 7-8 กิโลกรัม นับเป็นรายได้เสริม เป็นค่ากับข้าวทุกวัน
ใครที่ทำการเกษตร หรือพอมีที่มีทางอยู่แล้ว อาจเอาไอเดียไปทำได้เลย ซึ่งจะว่าไปแล้ว การปลูก การดูแล ไม่ยากเท่าการหาตลาด ดังนั้นก่อนปลูก ลองไปสำรวจตลาดก่อนว่า จะไปส่งให้ใคร ที่ไหน และจะได้ราคาเท่าไหร่
อาชีพที่ 5 เลี้ยงปลาหมอ
ปลาหมอเป็นปลาที่ทนทาน เลี้ยงง่าย และมีผู้บริโภคให้ความนิยมโดยเฉพาะตามตลาดในต่างจังหวัด
ขั้่นตอน
3. ก่อนที่จะปล่อยลูกปลาลงบ่อ จะสูบน้ำลงไปในบ่อให้มีระดับน้ำ ประมาณ 120 เซนติเมตร แล้วรักษาระดับน้ำไว้เช่นนี้ จนกว่าลูกปลามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน พอเข้าสู่เดือนที่ 2 จะเพิ่มระดับน้ำขึ้นมาอยู่ที่ 140 เซนติเมตร พอลูกปลาหมอเข้าเดือนที่ 3 เพิ่มระดับน้ำขึ้นเป็น 180 เซนติเมตร พอครบเดือนที่ 4 ระดับน้ำจะอยู่ที่ 2 เมตร จนกว่าปลาหมอจะได้ขนาดส่งขายได้
4. ส่วนพันธุ์ปลา เลือกลูกปลาหมอจากฟาร์มที่เชื่อถือได้เพราะถ้าเลือกลูกปลาหมอมาไม่ดีโอกาสจะเป็นเพศผู้หมดค่อนข้างมาก แนะนำพันธุ์ชุมพร 1 ขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร (ไซซ์ใบมะขาม) ราคาตัวละ 80 สตางค์ เป็นปลาหมอที่ผ่านการแปลงเพศแล้ว จะเอาเพศเมียเป็นหลัก เพราะเพศเมียจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าเพศผู้ มีขนาดใหญ่กว่า
5. บ่อขนาด 10×20 เมตร ปล่อยลูกปลาหมออยู่ที่ 5,000 ตัว ต่อบ่อ แต่ถ้าใครจะปล่อยถึง 10,000 ตัว ต่อบ่อ ก็ทำได้
6. การให้อาหาร ช่วงที่ปล่อยลูกปลาไปแรกๆ ยังไม่ได้ให้อาหาร เพราะในบ่อจะมีไรแดงอยู่ ลูกปลาสามารถกินได้ พอเลย 7 วัน ก็จะเริ่มให้อาหาร ระยะ 1 เดือนแรก ให้วันละ 4 ครั้ง
7. การดูแลรักษาโรค และศัตรูของปลาหมอ
เมื่อปลามีอายุได้ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ก็จะมีการถ่ายน้ำออกจากบ่อ โดยดูว่าน้ำในบ่อมีสภาพอย่างไร เขียวมากเกินไหม เพราะถ้าสภาพน้ำไม่ดีปลาหมอจะเครียด กินอาหารได้น้อย จะถ่ายน้ำออก เอาน้ำใหม่เข้าไป จากนั้นสาดเกลือลงไปในบ่อหลังถ่ายน้ำ
8. การตลาดส่วนใหญ่ มีคนมาจับถึงบ่อเลี้ยง ปลาหมอที่ขายส่วนใหญ่ อายุประมาณ 5 เดือน โดยไซซ์ที่นิยม จะประมาณ 4-5 ตัว ชั่งน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ถือเป็นไซซ์ปานกลาง ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท
ถ้า 7-9 ตัว ชั่งน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 40 บาท
ส่วนไซซ์ใหญ่สุด 2-3 ตัว ได้ 1 กิโลกรัม อยู่ที่ราคา 80 บาท (ทั้งนี้ ราคาขึ้นอยู่กับ ความต้องการ และปริมาณสินค้าในเวลานั้นๆ ด้วย)
(ขอบคุณภาพ และเนื้อข่าว เรื่องปลาหมอ จากคุณสุรเดช สดคมขำ ผู้สื่อข่าวเทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์)
ขอบคุณที่มาข้อมูล :