โพสต์โดย : Admin เมื่อ 29 ส.ค. 2560 02:43:26 น. เข้าชม 166343 ครั้ง
การเรียนวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีนั้น เด็กนักเรียนหญิงหลายคนอาจคิดว่าเป็นศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กนักเรียน ผู้ชาย แต่โดยความจริงแล้วการเรียนรู้และความสามารถนั้นไม่จำกัดเพศไม่จำกัดวัย ดังในประวัติศาสตร์มีนักวิทยาศาสตร์หญิงมากมายที่เป็นผู้บุกเบิกและประสบ ความสำเร็จในศาสตร์ด้านนี้ 6 วิธีการด้านล่างเป็นการรวบรวมแนวคิดสร้างสรรค์การเรียนรู้และเคล็ดลับต่างๆ ที่ครู-อาจารย์สามารถนำไปปรับใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กนักเรียน หญิงได้
1.สร้างแบบอย่างเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ
ย้อนกลับไปในอดีต หญิงสาวนามว่า “Ada Lovelace” ได้ชื่อว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์หญิงคนแรกของโลก ผู้ซึ่งต่อมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กนักเรียนหญิงในการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ (STEM) นอกจากนั้นยังมีหญิงสาวในประวัติศาสตร์อีกหลายคน ที่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ศาสตร์แขนงนี้ ไม่ว่าจะเป็น “แคทเธอรี จอห์นสัน” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์ “ราเชล คาร์สัน” ผู้ซึ่งเป็นนักชีววิทยาทางทะเลแหวก และ “แซลลี ไรด์” นักบินอวกาศคนแรก โดยใน เว็บไซต์ของทำเนียบขาวมีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับผู้ทรงคุณวุฒิ เหล่านี้ และยังเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเพิ่มเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเอง ได้
2.รวบรวมข้อเท็จจริงที่สร้างความอยากรู้อยากเห็น
ข้อเท็จจริงที่น่าพิศวงหรือไม่น่าเป็นไปได้ ย่อมสร้างความอยากรู้อยากเห็นในการเรียนรู้ อาทิ คุณทราบหรือไม่ว่าภายใต้สภาวะเงื่อนไขที่เหมาะสม เพชรสามารถทำจากเนยถั่วลิสงได้ หรือร่างกายคนเราจะเล็กลงร้อยละ 1 ในช่วงเย็นแตกต่างจากในช่วงเช้า หรือความจริงที่ว่าอินเทอร์เน็ตทั้งหมดนั้น มีน้ำหนักประมาณผลสตรอเบอร์รี่ขนาดใหญ่หนึ่ผล ดังตัวอย่างที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับต้นกำเนิด โดยการนำเสนอลักษณะที่แปลกและมหัศจรรย์ของอัญมณีใน flipbook( http://teachers.theguardian.com/teacher-resources/14129/ ) ซึ่งเปรียบกับเป็นจอแสดงผลที่ดึงดูดความสนใจในห้องเรียน
3.สร้างความสงสัย
อีกหนึ่งวิธีการสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับเด็กๆ ด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ เริ่มด้วย เปิดวิดีโอ 10 เทคนิคเกี่ยวกับการทำให้ลูกบอลเคลื่อนไหวช้า ( https://www.youtube.com/watch?v=HQx5Be9g16U ) เพื่อสอนเกี่ยวกับระดับความเร็วและการเคลื่อนไหว หรือนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการทำขวดให้มองไม่เห็โดยการนำแก้วหรือขวดมาเติม กลีเซอรีน หลักจากนั้นใส่ขวดลงไปในแก้ว แล้วพบกับการหายไปของขวด เป็นต้น
4.ไขปัญหาพิศวง
สิ่งลึกลับหรือน่าพิศวงสงสัย ย่อมเป็นหนทางสร้างแรงบันดาลใจที่ดีให้กับเยาวชนในการศึกษา เช่น การให้นักเรียนตั้งเทียนที่จุดไฟบนจานตรงกลาง จากนั้นก็เทน้ำลงไปเล็กน้อย ก่อนครอบด้วยแก้ว และเฝ้าดูสีหน้าประหลาดใจของเด็กๆ ในสิ่งที่เกิดขึ้น ดูตัวอย่างได้จากวิดีโอ https://youtu.be/pyy_lup0F4c
อีกบทเรียนหนึ่งที่สนุกสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาของ “Big Egg Mystery” ได้แนะนำให้เด็กตั้งความคิดสมมติฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายให้เด็กๆ เรียนรู้เกี่ยวกับ นกเกาะอยู่บนเปลือกไข่โดยไม่แตกได้อย่างไร ด้วยการทดลองวางหนังสือบนเปลือกไข่ ( http://sciencenetlinks.com/student-teacher-sheets/egg-experiment-teacher-sheet/ ) ทำให้เด็กๆ เกิดการคาดการณ์ การสำรวจ จนถึงสิ้นสุดการทดลองสมมุติฐานเกิดเป็นความรู้
5.ส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ด้วยตนเอง
ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการประดิษฐ์บอลลูนลอยได้ง่ายๆ จากวัสดุเหลือใช้อย่างลูกโป่ง ซีดีเก่า และกาว จากลิงก์( http://www.education.com/science-fair/article/DIY-Hovercraft/ )ซึ่งเป็นการทดลองเพื่อการสำรวจแรงเสียดทานสร้างการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
6.ส่งเสริมความคิดต่อยอด
นอกจากกระตุ้นการเรียนรู้สำหรับเด็กๆ คุณครูต้องไม่ลืมสร้างเป้าหมายด้วยการให้เด็กคิดถึงอาชีพที่ต้องการทำใน อนาคต เนื่องจากสถิติ มีเพียงร้อยละ20 ของเด็กนักเรียนหญิงที่เลือกวิชาฟิสิกส์ใน “A-Level” ทางแคมเปญ “WISE” และ “Girl-Friendly Physics” จึงให้สร้างสรรค์ 10 เคล็ดลับช่วยสร้างการเรียนรู้ฟิสิกส์ให้กับเด็กผู้หญิง ( http://teachers.theguardian.com/teacher-resources/21200/ ) และยังมีเว็บไซต์ “ScienceGrrl” (http://sciencegrrl.co.uk/about/) ที่ให้การสนับสนุนสำหรับผู้หญิงทุกเพศทุกวัยในสาขาวิทยาศาสตร์ ด้วยแคมเปญ งานฟอรั่มและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับแนวคิดสร้างสรรค์อื่นๆ ครู-อาจารย์สามารถสร้างความอร่อยให้กับการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้วยการอบคุกกี้ด้วยแสงแดด หรือทำเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ง่ายๆ ด้วยกล่องพิซซ่าและกระดาษฟอยล์ รวมไปถึงสำรวจน้ำตาลในน้ำอัดลม หรือว่าจะเป็นการเรียนรู้สิ่งประดิษฐ์จากนักวิทยาศาสตร์หญิงในอดีต เป็นต้น
ภาพประกอบ: https://www.youtube.com/watch?v=HQx5Be9g16U
แปลและเรียบเรียงบทความโดย CopyRight:มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ www.kusol.org