โพสต์โดย : Admin เมื่อ 2 เม.ย. 2560 15:10:28 น. เข้าชม 166406 ครั้ง
วงเสวนาแนะจับตาสอบบรรจุครูผู้ช่วย สพฐ.ปี2560 กรณีรัฐเปิดช่องให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนครูมาเป็นครูได้ พร้อมวอนรัฐปรับงบฯผลิตครูเท่าผลิตแพทย์
วันนี้ (1เม.ย.) ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว ) จัดเสวนาเรื่อง "รัฐเปิดช่องให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนครูมาเป็นครูได้หรือเสีย?” โดย นายองค์กร อมรสิรินันท์ อดีตเลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)ใช้ช่องทางผิดในการเปิดช่องให้ผู้ไม่เรียนครูมาสอบบรรจุเป็นครู จึงอยากให้ทุกคนในสังคมจับตาดูกระบวนการสอบบรรจุครูในครั้งนี้ว่า จะมีกระบวนการทุจริต หรือ เป็นช่องทางที่เอื้อให้คนเข้าสู่ระบบราชการหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูถูกฟ้องร้องได้ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธาน ก.ค.ศ. ก็จะตกเป็นจำเลย
นายวรพงษ์ แสงประเสริฐ อาจารย์โรงเรียนสาธิต มศว กล่าวว่า จากประสบการณ์พบว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิชาชีพครูมามีปัญหามาก ดังนั้น จึงอยากฝากว่าขอให้รัฐบาลมีนโยบายที่นิ่ง และชัดเจนว่าจะไปทางไหน ส่วนสถาบันผลิตครูต้องขยับตัวผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพจริงๆ และสุดท้ายขอฝากถึงเด็กที่จะเป็นครู ว่าต้องปรับตัวเองสร้างภูมิให้มีความพร้อมในทุกด้าน ที่สำคัญอย่าบกพร่องเรื่องจิตวิทยาความเป็นครู และต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง
ดร.ดิเรก พรสีมา คณบดีวิทยาลัยฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร กล่าวว่า ถ้าไม่สามารถสร้างคนคุณภาพได้ประเทศก็ไม่สามารถเดินต่อไปได้อย่างมั่นคงได้ ดังนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการพัฒนาครู โดยต้องใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมาเป็นเครื่องมือเพราะสามารถสร้างเงื่อนไขกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะมาเป็นครูได้ ที่สำคัญวิชาชีพครูจะทำแบบที่เป็นอยู่ไม่ได้ ซึ่งประเทศที่เจริญแล้วให้ความสำคัญกับการผลิตครูเหมือนการผลิตแพทย์ โดยสถาบันผลิตครูต้องทบทวนการผลิตครูให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการทีโรงเรียนให้ผู้เรียนครูได้ฝึกสอน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็รับลูกแล้วว่าการผลิตครูต้องทำเหมือนผลิตแพทย์ อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนรู้สึกผิดหวัง และเสียใจกับรัฐบาลมาก ซึ่งตนศรัทธานายกรัฐมนตรี ดังนั้นอยากให้หาคนมีความรู้การศึกษามาทำงานด้านการศึกษา
"ขอฝากให้รัฐบาลทำให้กระบวนการผลิตครูมีคุณภาพเหมือนการผลิตแพทย์ ซึ่งปัจจุบันงบประมาณผลิตแพทย์ 5แสนกว่าบาทต่อคนต่อปี ขณะที่การผลิตครู ได้รับงบประมาณ 800บาทต่อคนต่อปี แตกต่างกันมาก แล้วจะมาเรียกร้องคุณภาพอะไร ดังนั้น ขอเพิ่มขึ้นไม่ต้องเท่าแพทย์แต่เป็น2-3แสนบาทต่อคนต่อปีได้หรือไม่ ถ้ารัฐจริงใจอยากได้ประเทศไทย 4.0 ก็ต้องปรับงบประมาณในการพัฒนา การผลิตครู ไม่เป็นเพียงคำพูดสวยหรู หลอกลวงที่เป็นไปไม่ได้ รวมถึงต้องให้เวลาครูอยู่ในห้องเรียนมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมางานวิจัยของ สพฐ.พบว่า ครูใช้เวลา 65%ต่อปี ทำอย่างอื่นมากกว่าการสอน แล้วจะหวังให้การศึกษาขั้นพื้นฐานเก่งได้อย่างไร เมื่อไม่ให้เวลาครูอยู่กับนักเรียน" ดร.ดิเรก กล่าว
ด้านตัวแทนนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวว่า ตนคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูด้วยการเปิดช่องให้ผู้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมาสอบได้ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ คนเหล่านี้ไม่ได้อยากเป็นครูตั้งแต่แรก จึงไม่ได้เลือกเรียนคณะครุศาสตร์ศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จึงไม่มีจิตวิญญาณครูตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว แม้กระทรวงจะมองว่าคนเหล่านี้เก่งเนื้อหาสาระ แต่ไม่มีหรือขาดเรื่องกระบวนการสอนและจิตวิญญาณ จึงควรแก้ไขตั้งแต่กระบวนการผลิตและการรับคนเข้าเรียน ให้คนที่อยากเป็นครู ได้เรียนครู ถ้ากระทรวงไม่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้ ก็ควรแยกงานการศึกษาออกจากการควบคุมของรัฐบาล
ขณะที่ รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวว่า ที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย(สคศท.) รู้สึกเป็นห่วงเรื่องการฟ้องร้อง โดยเฉพาะการฟ้องร้องกันเองของนิสิต นักศึกษาครูที่มีใบอนุญาตฯ กับ ผู้ไม่มีใบอนุญาตฯในกรณีที่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตฯสามารถสอบได้ ซึ่ง สคศท. กำลังศึกษาข้อกฎหมาย รวมทั้งหลักเกณฑ์การรับสมัครครู ของ ก.ค.ศ.และ หลักเกณฑ์ของคุรุสภา ว่าเปิดช่องให้มีการฟ้องร้องกันได้หรือไม่ และมีแนวทางจะป้องกันไม่ให้นิสิตนักศึกษาฟ้องร้องกันเองหรือไม่ สำหรับเรื่องการสอบบรรจุครูนั้น ปัจจุบันมีครูที่สอบขึ้นบัญชีใน 8 กลุ่มสาระจำนวนมาก ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังไม่ได้เรียกบรรจุ แสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้ขาดแคลนคนมาเป็นครูใน 8 กลุ่มสาระ และนักศึกษาครูที่เรียนเอกวิทยาศาสตร์ ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ก็พบว่า มีคะแนนสอบแอดมิชชั่นที่สูงกว่านักศึกษาเอกเดียวกันที่เรียนคณะวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ก็ขอให้มั่นใจว่า นักศึกษาครูเก่งด้านเนื้อหา มีจิตวิญญาณครู เข้าใจจิตวิทยาเด็ก และถ่ายทอดความรู้เป็น.
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 เวลา 14.42 น.
ด้าน ไทยรัฐ ก็ได้นำเสนอข่าวนี้ ดังนี้
วงเสวนา ชี้เปิดช่องคนไม่มีตั๋วครูมาสอบ หวั่นทุจริต เสี่ยงฟ้องร้อง
อดีตเลขาฯ คุรุสภา เรียกร้องสังคมไทยจับตารับสมัครครูปีนี้ หลังเปิดช่องให้คนไม่มีตั๋วครูมาสอบ หวั่นทุจริตเอื้อคนเข้าสู่ระบบราชการ และอาจมีฟ้องร้อง ด้านคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มศว ห่วงนิสิตนักศึกษาฟ้องกันเอง...
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. นายองค์กร อมรสิรินันท์ อดีตเลขาธิการคุรุสภา กล่าวในงานเสวนา “รัฐเปิดช่องให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนครูมาเป็นครู ... ได้หรือเสีย?” ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ว่า คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ใช้ช่องทางผิดในการเปิดช่องให้ผู้ไม่เรียนครูมาสอบบรรจุเป็นครู จึงอยากให้ทุกคนในสังคมจับตาดูกระบวนการสอบบรรจุครูในครั้งนี้ว่า จะมีกระบวนการทุจริตหรือเป็นช่องทางที่เอื้อให้คนเข้าสู่ระบบราชการหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูถูกฟ้องร้องได้ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธาน ก.ค.ศ. ก็จะตกเป็นจำเลย
ขณะที่ นายไพบูลย์ เกตแก้ว อดีต ผอ.ร.ร.พรหมานุสรณ์ จ.เพชรบุรี กล่าวว่า อยากฝากถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองว่า ไม่ว่าจะแก้ไขปัญหาการขาดครูอย่างไร ผู้ที่จะมาเป็นครูผู้สอนจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทุกคน กระบวนการผลิตครูต้องมีการฝึกสอน ที่สำคัญครูต้องมีจรรยาบรรณความเป็นครู โดยเฉพาะต้องไม่มีปัญหาเรื่องชู้สาว
นายวรพงษ์ แสงประเสริฐ อาจารย์โรงเรียนสาธิต มศว กล่าวว่า จากประสบการณ์พบว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิชาชีพครูมามีปัญหามาก ดังนั้นจึงอยากฝากว่าขอให้รัฐบาลมีนโยบายที่นิ่ง และชัดเจนว่าจะไปทางไหน ส่วนสถาบันผลิตครูต้องขยับตัวผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพจริงๆ และสุดท้ายขอฝากถึงเด็กที่จะเป็นครู ว่าต้องปรับตัวเองสร้างภูมิให้มีความพร้อมในทุกด้าน ที่สำคัญอย่าบกพร่องเรื่องจิตวิทยาความเป็นครู และต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง
ดร.ดิเรก พรสีมา คณบดีวิทยาลัยฝึกหัดครู มรภ. พระนคร กล่าวว่า ครูเป็นส่วนสำคัญในการสร้างคนให้มีคุณภาพ ดังนั้นคุรุสภาจึงกำหนดให้ครูต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพื่อเป็นเงื่อนไขในการคัดเลือกและฝึกหัดผู้ที่จะมาเป็นครู แต่ขณะนี้ค่าใช้จ่ายรายหัวในการผลิตครู ตกเพียง 800 บาทต่อคนต่อปี เท่านั้น เทียบกับการผลิตแพทย์ซึ่งรัฐสนับสนุนงบประมาณในการผลิต 500,000 บาทต่อคนต่อปี จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการผลิตครูเหมือนการผลิตแพทย์ โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวในการผลิตครู เป็น 2-3 แสนจะได้หรือไม่ และต้องคืนครูให้กับเด็ก เพราะเรามีกิจกรรมมากมายที่ดึงครูออกนอกห้องเรียน ซึ่งพบว่าครูต้องใช้เวลา 65% ต่อปี ทำอย่างอื่นมากกว่าการสอน
อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนรู้สึกผิดหวัง และเสียใจกับรัฐบาลมาก ซึ่งตนศรัทธานายกรัฐมนตรี ดังนั้นอยากให้หาคนมีความรู้การศึกษามาทำงานด้านการศึกษา
รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวว่า ที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย รู้สึกเป็นห่วงเรื่องการฟ้องร้อง โดยเฉพาะการฟ้องร้องกันเองของนิสิตนักศึกษาครูที่มีใบประกอบวิชาชีพกับผู้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ในกรณีที่ผู้ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แล้วสามารถสอบได้ อาจถูกนิสิตนักศึกษาที่มีใบประกอบวิชาชีพครูฟ้องร้องได้ ซึ่ง สคศท. กำลังศึกษาข้อกฎหมายรวมทั้งหลักเกณฑ์การรับสมัครครูของ ก.ค.ศ.และหลักเกณฑ์ของคุรุสภา ว่าเปิดช่องให้มีการฟ้องร้องกันได้หรือไม่ และมีแนวทางจะป้องกันไม่ให้นิสิตนักศึกษาฟ้องร้องกันเองหรือไม่
สำหรับเรื่องการสอบบรรจุครูนั้น ปัจจุบันมีครูที่สอบขึ้นบัญชีใน 8 กลุ่มสาระจำนวนมาก ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังไม่ได้เรียกบรรจุ แสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้ขาดแคลนคนมาเป็นครูใน 8 กลุ่มสาระ และนักศึกษาครูที่เรียนเอกวิทยาศาสตร์ ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ก็พบว่า มีคะแนนสอบแอดมิชชั่นที่สูงกว่านักศึกษาเอกเดียวกันที่เรียนคณะวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ก็ขอให้มั่นใจว่า นักศึกษาครูเก่งด้านเนื้อหา มีจิตวิญญาณครู เข้าใจจิตวิทยาเด็ก และถ่ายทอดความรู้เป็น
ด้านตัวแทนนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวว่า ตนคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูด้วยการเปิดช่องให้ผู้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูมาสอบได้ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ คนเหล่านี้ไม่ได้อยากเป็นครูตั้งแต่แรก จึงไม่ได้เลือกเรียนคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ จึงไม่มีจิตวิญญาณครูตั้งแต่เร่ิมแรกแล้ว แม้กระทรวงจะมองว่าคนเหล่านี้เก่งเนื้อหาสาระ แต่ไม่มีหรือขาดเรื่องกระบวนการสอนและจิตวิญญาณ จึงควรแก้ไขตั้งแต่กระบวนการผลิตและการรับคนเข้าเรียน ให้คนที่อยากเป็นครู ได้เรียนครู ถ้ากระทรวงไม่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้ ก็ควรแยกงานการศึกษาออกจากการควบคุมของรัฐบาล.
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยรัฐ วันที่ 1 เมษายน 2560 ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม