เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » คู่มือครู » รวมไว้ที่นี่! เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิก ให้สดชื่น รื่นเริง อารมณ์ดี

รวมไว้ที่นี่! เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิก ให้สดชื่น รื่นเริง อารมณ์ดี

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 24 ส.ค. 2560 15:05:23 น. เข้าชม 166590 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
รวมไว้ที่นี่! เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิก ให้สดชื่น รื่นเริง อารมณ์ดี
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : คู่มือครู ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
รวมไว้ที่นี่! เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิก ให้สดชื่น รื่นเริง อารมณ์ดี
รวมไว้ที่นี่! เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิก ให้สดชื่น รื่นเริง อารมณ์ดี

รวมไว้ที่นี่! เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก

เทคนิคการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก

เรียนรู้ภาษาไทยให้สนุก...

ฝึกคำกับสระ เมื่อเช้าเก็บมะเขือ ลงใส่เรือเตรียมไปขาย เรือนี้นั่งสบาย เรือเมื่อพายไปคล่องดี วันนี้ใส่เสื้อสวย แล้วรีบฉวยเสื่อม้วนนี้ ลงเรือในทันที ช่างโชคดีที่ลงเรือ                             

ภาษาไทยนอกจากเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางวัฒนธรรมของชาติแล้วยังเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต   แต่ปัจจุบันยังพบปัญหาเกี่ยวกับการอ่านการเขียนของเด็กระดับประถมศึกษา  คือ อ่านไม่คล่อง  เขียนไม่คล่อง   ที่ร้ายแรงกว่านั้นเด็กไม่สามารถอ่านออกเขียนได้   สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเด็กไม่สนุกต่อการเรียนรู้   มีความทุกข์เมื่อถึงเวลาเรียนเพราะรู้สึกว่าภาษาไทยเป็นเรื่องที่ยากต่อการเรียน  ดังนั้น  จึงได้จัดทำเอกสารเรียนรู้ภาษาไทยให้สนุก  ระดับประถมศึกษาขึ้น  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการฝึกหลากหลายวิธี  แบบเล่นปนเรียน  ซึ่งเด็กระดับประถมศึกษายังชอบการเล่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้จังหวะ  เสียงเพลง เป็นส่วนหนึ่งที่เด็กจะเกิดความสุขในการเรียน  ผู้เรียบเรียงเอกสารได้นำมาใช้สอดแทรกในการฝึกอันจะทำให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

 

             http://gotoknow.org/blog/wanneechanchit/224120

เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก ๆ

ความรู้จากการปฏิบัติงาน

           ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิก ให้สดชื่น รื่นเริง อารมณ์ดี  น่าเข้าใกล้นะคะ  สอนนักเรียนโดยนำตัวอย่างที่ใกล้ตัวเด็ก  เล่าเรื่องสนุก ๆให้ฟังบ้าง  ผ่อนคลายบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเอง  อย่าให้ดุหรือเข้มงวดเกินไป  เด็กจะเครียด  กลัว ทำให้เกลียดครู  เกลียดวิชานะคะ  เด็กทุกชั้นไม่ว่าเด็กเล็กหรือระดับโต ไม่ชอบฟังนาน ๆ  เราเองก็เหมือนกัน  ก็แทรกกิจกรรมในชั้น ให้เขามีส่วนร่วมบ้าง

ห้องก็จะบันเทิง  วิชาของเราก็จะน่าเรียนค่ะ   อย่าชิงโมโหเสียก่อน  เวลาเขากวน  อย่าลืมยิ้มกับเขาบ่อย ๆ

ที่สำคัญ ครูจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่สอนอย่างกระจ่างแจ้ง สามารถตอบคำถามทุกคำถามแก่นักเรียนได้ เป็นผุ้รอบรู้ และรู้รอบ ซึ่งแสดงให้นักเรียนเห็นจนเกิดเป็นความศรัทธา เช่น เป็นคนตั้งใจจริง มีความสุข

ทุกครั้งที่อยู่ในห้องสอน เมื่อนั้น...สิ่งที่ครูอยากจะสอน แม้เรื่องจะยาก เรื่องอาจไม่สนุก นักเรียนก็จะใส่ใจ สนใจ เพราะเขาศรัทธา และเคารพความตั้งใจจริงในการสอนของครู ตัวครูก็ต้องเข้าใจที่จะสอดแทรกอารมณ์ขัน แม้จะเป็นเรื่องที่เป็นหลักการ

 

http://km.spn1.net/?name=research&file=readresearch&id=186

 

8 ขั้นตอนสอนภาษาไทยให้สนุก  

                บันได 8 ขั้น จะเริ่มจาก "การปลุกเร้ากระบวนการคิด" โดยใช้คำถามนำให้เด็กเกิดความสนใจ และ "ชี้ให้เห็นความสำคัญ" ของเนื้อหาที่จะเรียนว่าสำคัญต่อชีวิตอย่างไร เช่น การเรียนบทประพันธ์นั้น จะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างไร และปล่อยให้เด็กๆ คิดตามถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อให้เห็นความสำคัญ และอยากที่จะเรียน   

"หลากหลายแบบฝึกหัด" เป็นภาคปฏิบัติที่จะให้เด็กเริ่มแต่งกลอนแปด และจะย้ำให้ได้ฝึกทักษะซ้ำๆ พร้อมกับเสริมแรงกระตุ้นด้วยการให้รางวัลต่างๆ ในการฝึกทักษะนี้ครูต้องพิจารณาให้งานตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน ถ้าคนไหนแต่งกลอนแปดไม่ได้ ให้แต่งกาพย์ยานี หรือกลอนสี่ จะคิดเสมอว่าอย่าบังคับให้เด็กต้องตามทันเพื่อนคนอื่น และอย่าคาดหวังว่าเด็กจะทำตามเป้าหมายเดียวกันได้ทุกคน ดังนั้นเป้าหมายจึงต้องเปลี่ยนไปตามความพร้อมและความสามารถของเด็กแต่ละคน

"ฉายความชำนาญ" เป็นการให้นักเรียนสร้างชิ้นงานที่ใหญ่ขึ้น เช่น แต่งบทประพันธ์ คำกลอนและรวบรวมให้เป็นหนังสือ นิทาน คำขวัญเมืองสุพรรณ โดยบูรณาการวิชาศิลปะ งานประดิษฐ์ให้ออกเป็นมาในรูปแฟ้มสะสมผลงานตามด้วย "นำเสนองานที่สร้างสรรค์" ให้เด็กๆ อธิบายกระบวนการจัดทำได้ออกมาเป็นผลงาน เมื่อเรียบร้อยจึงเข้าสู่”ขั้นตอนการประเมิน”ซึ่งต้องประเมินอย่างรอบด้าน ทั้งการประเมินตนเอง การประเมินจากกลุ่มเพื่อน และรับผลประเมินจากครู สุดท้ายก็รวบร่วมผลงานนักเรียนทุกคนออกแสดง ในรูปของนิทรรศการต่างๆ

“ระหว่างสอนควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ครูต้องทำตัวให้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ที่สำคัญไม่เลือกปฏิบัติ และให้ความเสมอภาคกับทุกคน สำหรับเทคนิคดีๆ ที่ใช้ได้ผล ว่า ครูจะไม่เอาบทเรียนเป็นตัวตั้งในการสอน แต่ใช้เด็กเป็นจุดศูนย์กลาง และดึงความรู้มาเกี่ยวพันกับชีวิตเด็กให้ได้ เคล็ดลับสำคัญคือ อย่าเอาการบ้านมาทำลายบรรยากาศในการเรียน และไม่จำเป็นต้องจ้ำจี้จ้ำไช ให้เด็กต้องส่งการบ้านทุกวัน เพราะจะทำให้เด็กเครียดจนไม่อยากมาเรียน ทั้งนี้คิดเสมอว่า เราสอนคนไม่ใช่สอนความรู้ ถ้าครูมุ่งสอนแต่เนื้อหาเด็กอาจจะไม่อยากเรียนได้ ครูจึงควรรู้ว่าเจตนารมณ์และเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาคือการให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข

http://wannakorn67.multiply.com/journal/item/29

 

วิธีการสอนภาษาไทยอย่างไรไม่ให้เบื่อ 

ต้องถามตัวเองก่อนครับว่าเบื่อที่จะสอนหรือเปล่า  สอนด้วยใจหรือสอนตามหน้าที่

ถ้าสอนด้วยใจก็จะเข้าใจว่าควรทำอย่างไร   เด็กแต่ละรุ่นแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ดังนั้นวิธีการสอนที่เหมือนกันอาจทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งสนใจสนุกสนาน แต่เด็กอีกกลุ่มอาจเบื่อได้  การสอนที่ทำให้เด็กไม่เบื่อจึงไม่ใช่การสอนที่มีวิธีตายตัว  หากแต่อยู่ที่การปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเด็กที่สอน  มีกิจกรรมให้เด็กผ่อนคลายบ้างเป็นครั้งคราว

และเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆอย่างสมัครใจ  ไม่ใช่เป็นการบังคับด้วยการให้คะแนน

ควรเอาเกณฑ์การให้คะแนนเป็นตัวเสริม  อย่ามองที่ผลงานเกินไป แต่ให้มองที่วิธีการค้นคว้าหาข้อมูลของเด็ก

และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็กมากกว่า  เพราะธรรมดาเด็กย่อมต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน

ดังนั้นการให้เด็กมีโอกาสแสดงความคิดเห็น หรือความสามารถที่ตนเองถนัด  โดยแฝงไว้ด้วยเนื้อหาทางวิชาการ น่าจะเป็นวิธีการที่ดีในการสอนทีจะดึงความสนใจจากเด็กได้และจะทำให้การสอนน่าเบื่อน้อยลง

อีกประการที่สำคัญคือ หากผู้สอนเบื่อเสียเองและสอนแบบเสียไม่ได้  สอนโดยคิดว่าการสอนเป็นเพียงหน้าที่ที่ต้องทำ การสอนในชั่วโมงนั้นก็จะดูน่าเบื่อ

 

http://www.vcharkarn.com/vcafe/99092

 

สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก  

   จากประสบการณ์การสอนวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ  ระดับชั้นปวช.1   มาหลายปี  สังเกตพบว่านักเรียนส่วนมาก  จะให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเบื่อหน่ายไม่มีความสุขและไม่สนุกสนาน

ในการเรียนวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นอย่างนี้มานานมาก  ครูผู้สอนก็พยายามหาวิธีการสอน  เทคนิคการสอนและกระบวนการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย   ไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยการเล่าเรื่องนักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ  ทำงานเป็นกลุ่ม   ศึกษาค้นคว้า   สอนโดยการทำรายงานและอีกหลากหลายวิธี ซึ่งครูผู้สอนขอใช้ชื่อเทคนิคการสอนนี้ว่า “เรียนปนเล่น”         ผลปรากฏว่านักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี   

ครูหลายๆท่านอาจคิดว่าการเรียนการสอนแบบนี้น่าจะเหมาะกับนักเรียนชั้นประถมศึกษามากกว่าที่จะ

นำมาใช้กับนักเรียนระดับชั้นปวช. แต่เมื่อนำมาปรับใช้ก็ทำให้เห็นว่านักเรียนทุกคนชอบ สนุกสนานและกระตือรือร้นมาก  วันใดที่มีการจัดกิจกรรมแบบนี้วันนั้นจะเป็นวันที่ครูได้เห็นรอยยิ้มของนักเรียน  ครูจะพยายามให้นักเรียนทุกคนได้ทำกิจกรรม  เมื่อทุกคนได้ฝึกจนมีความรู้  ความเข้าใจดีแล้ว  ครูก็จะใส่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

จะเห็นว่าการนำเทคนิคแบบ “เรียนปนเล่น”  มาใช้กับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยนักเรียนมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนการสอนมาก  ครูผู้สอนเองก็มีความสุขไปด้วย  นอกจากนี้เมื่อจบการเรียนการสอนแต่ละครั้งครูและเพื่อนต้องให้ขวัญกำลังใจโดยการปรบมือให้ผู้ที่ทำกิจกรรมได้สำเร็จ  ถึงแม้จะไม่รวดเร็วก็ต้องปรบมือให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  และที่สำคัญครูผู้สอนภาษาไทยจะต้องพัฒนาบุคลิกภาพให้ดูดีกระตือรือร้น  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกสามารถแสดงท่าทางประกอบในสิ่งที่ตนเองพูด  เล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างให้สอดคล้องสมจริงสมจังกับสิ่งที่กำลังสอนหากคุณครูทุกคนสามารถทำได้การเรียนการสอนในวิชาต่างๆก็จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป                                                                                                  

                                                                                                        

http://gotoknow.org/blog/eduanw2/363386

 

สอนภาษาไทยอย่างไรจึงจะสนุก

ช่วยกันทำให้เด็กๆอยากเรียนภาษาไทยกันดีกว่า

ก่อนอื่นเริ่มจากตัวครูผู้สอนก่อนอันดับแรก แล้วตัวครูจะต้องทำอย่างไรบ้างนะเหรอคะ

1.  ยิ้มแย้ม แจ่มใสค่ะ แต่งตัวให้ดูดีเข้าไว้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง และยังทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น เพราะภาพลักษณ์ครูภาษาไทย ส่วนใหญ่จะสวมแว่นหนาเตอะ แต่งตัวเชย หน้าบึ้ง เนี๊ยบทุกอย่าง

2.  มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ให้กับตนเองเสมอ เป็นนักอ่านตัวยงเลยหล่ะคะ

3.  เป็นนักพูดที่มีเทคนิคการพูดที่น่าฟัง พูดเพราะ พูดเสริมแรง รู้จักการพูดให้กำลังใจ

4.  เป็นนักคิด คิดเสมอว่าทำยังไงเด็กๆจึงจะอ่านออก เขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยที่ตัวเด็กๆเองรู้สึกชอบและอยากทำเอง

5.  เป็นนักปั้นมือทอง ครูจะรู้อยู่แล้วว่าเด็กๆของตนเองเก่งด้านไหน เราก็ต้องช่วยส่งเสริมด้านนั้นให้มากที่สุด ส่วนด้านไหนที่ต้องการพัฒนา ก็ต้องช่วยเหลือให้ถึงที่สุดเช่นกัน

6.  เป็นพิธีกรจำเป็น จัดเวทีให้นักเรียนแสดงคิด ความความสามารถของตนเอง คอยชื่นชมให้กำลังใจและให้คำแนะนำดีๆ

                http://krunongkala.blogspot.com/2009/10/1_21.html

 

สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก

                ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเบื่อหน่ายไม่มีความสุขสนุกสนานในการเรียนวิชาภาษาไทยซึ่งเป็นอย่างนี้มานานมาก   ก็พยายามหาวิธีการสอน  เทคนิคการสอนและกระบวนการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย   ไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยการเล่าเรื่องประเทืองปัญญา   นักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ  ทำงานเป็นกลุ่ม   ศึกษาค้นคว้า   สอนโดยใช้เพลง  การเรียนการสอนโครงงาน   ทำรายงานและอีกหลากหลาย   นักเรียนก็ให้ความร่วมมือบ้างแต่คิดว่ายังไม่เต็มที่  พบอีกวิธีการหนึ่งที่นักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอย่างมีความสุขสนุกสนาน  เรื่องคำประสม  คำซ้อน  พยายามให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกสร้างคำจนครบทุกคน  เมื่อทุกคนได้ฝึกสร้างคำจนมีความรู้  ความเข้าใจดีแล้ว  จึงให้นักเรียนเล่นเกมต่อคำประสมและคำซ้อน  โดยต่อคำประสมก่อนจึงต่อคำซ้อนเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ  คือนักเรียนคนแรกเริ่มด้วยคำว่า  น้ำปลา   คนต่อไปต่อว่า  ชาร้อน   หมอนข้าง  ช่างไม้  ใจดี  ผีเรือน  เพื่อนตาย  ฯลฯ  เห็นว่านักเรียนเขามีความสุขสนุกสนานมาก  ครูผู้สอนก็มีความสุขไปด้วยครูและเพื่อนต้อให้ขวัญกำลังใจโดยการปรบมือให้ผู้ที่ต่อคำได้อย่างว่องไว  ถึงแม้จะไม่ว่องไวก็ต้องปรบมือให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  แต่ครูต้องคอยเป็นผู้ประสานและอีกสิ่งหนึ่งก็คือครูสอนภาษาไทยต้องมีบุคลิกกระตือรือร้น  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกสามารถแสดงท่าทางประกอบสิ่งที่ตนเองพูด  เล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างให้ สอดคล้องสมจริงสมจังกับสิ่งที่กำลังสอน        

                http://gotoknow.org/blog/process-thachai/62074

 

เทคนิคการสอนภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                เทคนิคหลากหลายลีลาภาษาไทย   เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ขั้นตอนการสอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้

1. ปลุกใจให้เริงร่า   เป็นขั้นเตรียมความพร้อมที่จะให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องใหม่ในชั่วโมงนั้นๆ  ซึ่งการปลุกใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้ เช่น การนำเพลง  เกม นิทาน  มานำเข้าสู่บทเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน และพร้อมที่จะเรียนรู้

2.  ดึงเนื้อหามาสัมพันธ์  เป็นการนำเสนอเนื้อหาเดิมเชื่อมโยงมาสู่เนื้อหาใหม่ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้

3.  บูรณาการหลากหลาย   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นแกน แล้วดึงกลุ่มสาระอื่นๆเข้ามาเชื่อมโยงในเนื้อหาที่เรียนรู้ในชั่วโมงนั้นๆ  เช่น ศิลปะ  คณิตศาสตร์ ฯลฯ 

4.  สรุปสิ่งที่ได้เป็นเกมต่างๆ   เป็นการนำเนื้อหาที่เรียนรู้ไปแล้วให้นักเรียนสรุปเนื้อหาที่ครูสอนไปแล้ว  โดยใช้เกมมาประกอบในการสรุปเนื้อหา เป็นการเล่นอย่างมีความรู้นั่นเอง

5.  เด็กสร้างชิ้นงานตามศักยภาพ   เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่นักเรียนเรียนรู้ว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยทำในรูปหนังสือเล่มเล็ก  นิทานหน้าเดียว  หนังสือสามมิติ ฯลฯ

               

                http://30wutani3.multiply.com/journal/item/4/4

                                       

การสอนภาษาไทยเด็ก

                ครูจะพยายามสรรหาสื่อการเรียนการสอนที่ไม่ทำให้นักเรียนเบื่อ หรือเห็นว่ายากจนเกินไป เช่น

-เรียนคำศัพท์จากรูปภาพ

-เรียนคำศัพท์และรูปประโยคจากเพลงเด็ก (เพลงช้าง, มดตัวน้อยตัวนิด, เป็ดอาบน้ำในคลอง, ฯลฯ)

-เรียนสระ พยัญชนะ มาตราสะกดไทย จากเกมจับคู่คำ (ครูและนักเรียนช่วยกันประดิษฐ์การ์ดคำศัพท์สีต่างๆ)

-เรียนคำลักษณะนามด้วยการจัดหมวดหมู่คำศัพท์

เมื่อนักเรียนมีความรู้ขั้นพื้นฐานแล้ว ครูจะพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ของเด็กด้วยการ

-สอนการสนทนา จับคู่ให้นักเรียนสนทนากันในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

-เขียนตามคำบอก อ่านออกเสียงในห้องเรียน

-เขียนเรียงความเพื่อพัฒนาทักษาการสร้างรูปประโยค

-ฯลฯ

 

                http://forums.thaieurope.net/index.php?topic=44.105

 

 

เทคนิคการสอนภาษาไทย
                เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ยังขาดความจำในเรื่องสระ พยัญชนะ ครูผู้สอนภาษาไทยในช่วงชั้นที่ 1 จึงต้องให้นักเรียนฝึกท่องจำและร้องเพลงต่างๆที่เกี่ยวกับภาษาไทย เพราะเด็กๆชอบการร้องเพลงการท่องกลอน สิ่งเหล่านี้จะทำให้นักเรียนสามารถจำได้อย่างแม่นยำ และควรหาเวลาให้นักเรียนได้อ่านหนังสือร่วมกันวันละอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

            http://203.172.182.215/km/index.php?option=com_content&task=view&id=2607&Itemid=57

ที่มา : http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=17039



อ่านต่อ http://www.kruupdate.com/news/newid-3389.html


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ คู่มือครู


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : คู่มือครู

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook