โพสต์โดย : Admin เมื่อ 17 ส.ค. 2560 01:44:44 น. เข้าชม 166574 ครั้ง
วันนี้พอมีเวลา ฝนตกไปไหนลำบากจะเล่าอะไรดี นึกขึ้นมาได้ว่าปัญหาที่หลายคนบ่นคือเด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ทำไมสมัยก่อนเด็กอ่านหนังสือเก่ง นึกถึงสมัยเราเป็นนักเรียน ป. ๑ พ.ศ.๒๔๙๙ ครูสอนเราแบบไหน น่าจะใช้แบบนั้นจะดีกว่า เราไม่เก่ง ไม่จบเอกภาษาไทย แต่ประสบการณ์ น่าจะเข้าท่ากว่าวิธีการสอนสมัยนี้ ลองนึกเรียบเรียงได้ว่า หลักสูตรแกนกลางสาระภาษาไทย หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปดังนี้สาระการเรียนรู้รายปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
- อ่านออกเสียง
- อ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง
- อ่านทำนองเสนาะ
- การท่องอาขยาน อ่านในใจ
- อ่านจับใจความและคาดคะเนเหตุการณ์
- การตั้งคำถาม ตอบคำถาม
- การเข้าใจความหมาย ประโยค ข้อความ การเขียน
- เขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด
- การเขียนตามคำบอก
- การคัดลายมือ
- การใช้คำเขียนประโยค
- การเขียนเรื่องสั้นๆแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการและประสบการณ์
- การใช้เลขไทย หลักการอ่าน
- การอ่านคำพื้นฐาน ประมาณ ๖๐๐ คำ และคำในสาระอื่น
- การอ่านแจกลูก และสะกดคำในมาตราต่างๆ การผันวรรณยุกต์
- การอ่านคำที่มีการันต์ อักษรควบ อักษรนำ
ฯลฯ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
- อ่านออกเสียง
- อ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง
- อ่านทำนองเสนาะ
- การท่องอาขยาน อ่านในใจ
- การเข้าใจความหมายของคำ ประโยค ข้อความ
- การอ่านจับใจความ และคาดคะเนเหตุการณ์
- การตั้งคำถาม ตอบคำถาม การเขียน
- เขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด
- การเขียนตามคำบอก
- การคัดลายมือ
- การเขียนประโยคและข้อความ
- การเขียนเรื่องสั้นๆแสดงจินตนาการความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ
- การเขียนบันทึก - การใช้เลขไทย หลักการอ่าน
- การอ่านคำพื้นฐาน ประมาณ ๘๐๐ คำ และคำในสาระอื่น
- การอ่านแจกลูก และสะกดคำในมาตราต่างๆ การผันวรรณยุกต์
- การอ่านคำที่มีการันต์ อักษรควบ อักษรนำ
ฯลฯ
ประสิทธิภาพด้านหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน คือ นักเรียนต้องอ่านคล่อง เขียนได้ ตามนโยบาย สภาพปัจจุบัน เราได้ยินเสียงบ่นจากครูทุกชั้นว่า เด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ไม่เว้นแม่กระทั่งเด็กในช่วงชั้นที่ ๓ แต่เราก็ไม่เคยปรับปรุงแก้ไข ส่วนหนึ่งคือไม่กล้าปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง ทั้งทั้งที่เราทราบปัญหาดี ว่าควรใช้วิธีสอนอย่างไรเมื่อเป็นเช่นนี้ เราน่าลองปรับการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อให้เด็กบรรลุอ่านคล่อง เขียนคล่อง อันนำไปสู้การเรียนรู้ในสาระอื่นต่อไป แม้จะไม่ใช่หลักวิชาการเท่าไรนัก อาศัยผลเชิงประจักษ์ ประสบการณ์ของครูโบราณ กล่าวคือ ในชั้น ป.๑ เป็นชั้นที่มีความสำคัญมาก เราต้องปูพื้นฐาน ในการฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้สูงขึ้น ต่อไป เดิม เราเรียนตามรูปแบบ ๒ ชุดคือ
ชุดแรก กรมวิชาการให้เรียน ชุดพื้นฐานภาษาไทย หนังสือรถไฟ นักเรียนต้องเรียนคำว่า รถไฟ ก่อน ตามธรรมชาติการเรียนรู้ ไม่น่าเริ่มด้วยคำนี้ เพราะนักเรียนยังไม่มีความพร้อม คำว่า รถไฟ มี ร เป็นอักษรนำ ตามด้วย สระโอะลดรูป มี ถ ใช้แทน ด เป็นตัวสะกด นักเรียนไม่สามารถทำความเข้าใจได้ เพราะซับซ้อน นอกจากใช้วิธีจำเพียงอย่างเดียว และมีอีกหลายคำที่ยากเกินเหตุที่เด็กจะรับได้ ชุดสอง หนังสือของ สปช. เป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนภาษาไทย แบบ มปภ.ซึ่งเรียกกันว่าหนังสือกระรอกไร้บ้าน มีวิธีการสอน ๕ ขั้นตอน คือ
๑. ครูเล่าเรื่อง ๒ นักเรียนเล่าย้อนกลับ
๓. ครูและนักเรียนช่วยกันเขียนเรื่อง
๔. ครูและนักเรียนช่วยกันทำหนังสือเล่มใหญ่
๕. ฝึกทักษะทางภาษา ในการเรียนการสอนแบบนี้ ขั้นตอนที่ ๕ น่าจะมาก่อนจึงจะดีกว่า
เมื่อฝึกทักษะดีแล้วจึงควรเริ่มอ่าน กระรอกไร้บ้านที่สำคัญหนังสือระบุว่าเป็นหนังสืออ่านประกอบ แต่ทำไมบังคับให้ครูต้องสอนก่อนเล่มอื่นไม่ทราบ นี่คือปัญหาที่บ่นกันมาทุกวันนี้ว่านักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกมาจดบัดนี้
ภาษาไทยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เสียงรวมกันแล้ว มี ๘๐ หน่วย ภาษาอังกฤษ มีพยัญชนะ สระ เพียง ๒๖ หน่วย เรามีมากกว่าถึง ๕๔ หน่วย โดยเฉพาะภาษาไทยมีลักษณะโดดเด่น สลับซับซ้อน พิสดาร ไม่เหมือนภาษาอื่นใด ภาษาแต่ละภาษาย่อมมีที่มาของธรรมชาติไม่เหมือนกัน ทั้งเอกลักษณ์ ขั้นตอนการเรียนรู้
ดังนั้น ทำให้เรานึกถึงการเรียนรู้ภาษาไทยในอดีต น่าจะเหมาะสมกับธรรมชาติของภาษา และคนไทยมากที่สุด ดังนั้นเราจึงควรมาปรับปรุงรูปแบบกันดีกว่า โดยใช้ข้นตอนการเรียนรู้ ดังนี้
๑. เรียนรู้เรื่องพยัญชนะ
๒. เรียนรู้เรื่องสระ
๓. เรียนรู้เรื่องวรรณยุกต์
๔. เรียนรู้การประสมแบบง่ายๆ
๕. เรียนรู้เรื่องการผัน
๖. เรียนรู้เรื่องการแจกลูก
๗. เรียนรู้เรื่องอักษรนำ
๘. เรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำ
๙. เรียนรู้เรื่องการสะกด
เมื่อจบ ๙ ขั้นแล้ว จึงต่อด้วยวิธีการของ มปภ. ชั้น ป.๑ ถ้าใช้วิธีและขั้นตอนแบบนี้ นักเรียนต้องอ่านได้แน่นอน รวมทั้งใช้วิธีนี้ แก้ปัญหาเด็กในชั้นอื่นที่อ่านหนังสือไม่ได้
๑. ขั้นตอนที่ ๑ การเรียนรู้เรื่องพยัญชนะ สอนให้นักเรียน สังเกต และจำพยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว ให้ได้ก่อน ผู้เล่ามีความเห็นว่าที่ผู้แต่งสมัยเราเป็นเด็ก เด็ก แต่งได้สัมผัส คล้องจอง เนื้อเรื่องร้อยรัด เช่นก.เอ๋ยก.ไก่ /ข. ไข่อยู่ในเล้า/ฃ. ขวด ของเรา/ ค.*** เข้านาฯ จนถึงฮ. ความหมายรับกันจนครบ แต่ของสมัยนี้ ดูให้ดีจะพบว่าไม่ ไพเราะ ความหมายไม่สอดคล้อง กันเท่าไร ผู้เล่าคิดเองนะ
๒. ขั้นตอนที่ ๒ การเรียนรู้เรื่องสระ เมื่อเด็กจำพยัญชนะได้คล่องแล้ว จึงเริ่มเรียนสระ ครูเขียนแผนภูมิสระทั้ง ๓๒ รูป ให้เด็กดู ควรเขียนไว้ ๒ ข้าง ดังนี้
- ะ อ่านว่า สระอะ - า อ่านว่า สระอา
-ิ อ่านว่า สระอิ -ี อ่านว่า สระอี
เขียนจนครบ ๑๖ คู่
เมื่อเด็กจำ อ่านได้ แนะให้สังเกต และสรุปให้ได้ว่าเสียงของสระ แถวซ้าย ต่างกับ แถวขวา อย่างไร ครูอ่านซำๆ ฝึกการสังเกต การวิเคราะห์ จนเด็ก สังเกตได้ว่า แถวซ้าย เสียงสั้น แถวขวาเสียงยาว หรือ แล้วแต่วิธีกรของครู แต่ครูอย่าบอกเด็กว่าสระมีเสียงสั้นกับเสียงยาว พยายามให้เด็กสังเกต เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ข้อสำคัญต้องให้ทุกคนจำพยัญชนะ และรูปสระให้ได้ ๓. ขั้นตอนที่ ๓ เรียนรู้เรื่องวรรณยุกต์ ใช้แผนภูมิ/บัตรคำ เขียนรูปวรรณยุกต์ ทั้ง ๔ รูป พร้อมเสียง ๕ เสียง หา วิธีให้เด็กจำให้ได้ว่า วรรณยุกต์ ตัวไหน เสียงอะไร
รูปวรรณยุกต์ ่ ้ ๊ ๋ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
๔. ขั้นตอนที่ ๔ เรียนรู้เรื่องการประสมแบบง่ายๆ เมื่อเด็กจำได้แล้ว จึงสอนให้นำพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ มาประสมกัน
๑). ประสมพยัญชนะ กับสระก่อน
-ะ - า
ก กะ กา
-ิ -ี
ก กิ กี
ให้หัดประสมจนครบทั้ง ๑๖ คู่ ควรใช้กลุ่มอักษรกลางมาก่อน แล้วกลุ่มอักษรสูง และต่ำตามลำดับ โดยยังไม่ต้องบอกเด็กว่าอักษรมีกี่หมู่ ให้เด็กจำ สังเกตว่า วิเคราะห์อักษรแต่ละหมู่มีกี่ตัว เพื่อสอนในเรื่องอักษรสามหมู่ในโอกาสต่อไป
๒) ประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เมื่อเด็กประสมพยัญชนะ สระ ได้แล้ว จึงสอนให้นำวรรณยุกต์มาประสม
กา - ก่า / กา -้ ก้า / กา -๊ ก๊า / กา -๋ ก๋า
กาเอกก่า กาโทก้า กาตรีก๊า กาจัตวาก๋า
สอนทีละหมู่เหมือนเดิม อย่าเร่งรีบ จนทุกคนสามารถอ่าน ประสมได้
๕.ขั้นตอนที่ ๕ เรียน เรืองการผัน เมื่อนักเรียนประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ได้แล้ว ขั้น ตอนไปเป็นเรื่องการหัดผัน โดยใช้วรรณยุกต์ มาช่วย การผัน ใช้สระเสียงยาว เริ่มจากอักษรกลางก่อน
วรรณยุกต์ ่ ้ ๊ ๋ กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
ให้เขียนแผนภูมิ มีรูปวรรณยุกต์ สระ สียง ไว้ถาวร แล้วนำพยัญชนะเป็นบัตรคำมาทีละตัว ให้อ่าน เช่น พยัญชนะ ก เด็กออกเสียงว่า กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า (ไม่ต้องอ่าน กอ อา กา /กา เอก ก่า/กา โท ก้า) ในชั้น ป.๒ จะรู้จักการผันกับสระลดรูป ศึกษาเพิ่มเติมจากแบบเรียนภาษาไทย ชั้น ป.๒ (หลักสูตร ๒๕๒๑)
๖. ขั้นตอนที่ ๖ การเรียนรู้การแจกลูก
เมื่อหัดผันได้คล่องเริ่มฝึกการแจกลูกต่อเนื่องจากขั้น ๕ คล้ายการประสม ในขั้น ๔ เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
กอ อา กา กา เอก ก่า ก้าโทก้า กาตรีก๊า กาจัตวา
๗. ขั้นตอนที่ ๗ การเรียนรู้อักษรนำ
คำในภาษาไทยแยกเป็น คำที่ใช้ อ. นำ กับคำที่ใช้ห.นำ ป.๒ เพิ่มการใช้อักษรนำ อื่น เช่น ใช้ ผ.ส. นำ
๘. ขั้นตอนที่ ๘ การเรียนรู้คำควบกล้ำ
การอ่านคำควบกล้ำ จะอ่านพยัญชนะ ๒ ตัวควบกันแล้วตามด้วยสระ ตัวสะกดและวรรณยุกต์ เช่น กรับ อ่าน กรอ- อะ- บอ –กรับ ฯลฯ ครูหาคำมาให้นักเรียนฝึกอ่าน เช่น คำที่มี กร,กล,ขร,ขล,คร,ตร,ปร,ปล,พร,พล ควบกล้ำ
๙ . ขั้นตอนที่ ๙ การเรียนรู้การสะกด
สอนคำที่สะกดคำ จะเริ่มในมาตราแม่ ก กา ก่อน แล้วตามด้วย มาตราตัวสะกดกง,กน,กม,เกย,เกอว ซึ่งเป็น คำเป็น (แบบเรียนเร็ว เล่ม ๑)แล้วสะกดคำใน แม่ กก,กด,กบ ซึ่งเป็นคำตาย คำเป็นก่อนเพราะออกเสียงง่าย สอนคำที่สะกด มีสระเสียงสั้น คู่กับยาว เรียงตามมาตราตัวสะกด ๘ แม่ ใช้พยัญชนะอักษร กลาง สูง ต่ำ ตามลำดับ
มาตราแม่ก.กา กะ = กอ-อะ-กะ / กา=กอ-อา-กา
แม่กง กัง = กะ-งอ-กัง / กาง=กา-งอ-กาง
แม่กน กัน =กะ-นอ-กัน / กาน=กา- นอ-กาน
แม่กม กัม =กะ-มอ-กัม / กาม=กา-มอ-กาม
แม่เกย
ที่มา : บันทึก GotoKnow โดย นายชัชวาลย์ ใน นิเทศ จบ.1