เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป » ปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่ให้เป็นครู

ปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่ให้เป็นครู

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 23 ธ.ค. 2563 06:11:15 น. เข้าชม 166319 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่ให้เป็นครู
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่ให้เป็นครู
ประเด็นสำคัญ ปีงบประมาณ 2563 ศธ.จำเป็นต้องตัดงบประมาณโครงการ “ปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู” เนื่องจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยได้รับการจัดสรร 3 ล้านกว่าบาท แต่ปีงบประมาณ 2564

ราชกิจจานุเบกษา : นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ 157/ร. ของนายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ปัญหาการตัดลดงบประมาณโครงการ ปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่ให้เป็นครู และอัตราจำนวนบุคลากรในการบริหารจัดการหน่วยการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษทั่วประเทศ (ผู้พิการ)


                ประเด็นสำคัญ ปีงบประมาณ 2563 ศธ.จำเป็นต้องตัดงบประมาณโครงการ “ปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู” เนื่องจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยได้รับการจัดสรร 3 ล้านกว่าบาท แต่ปีงบประมาณ 2564 ได้ขอรับจัดสรรจากรัฐบาลเพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านกว่าบาท เพื่อดูแลเด็กพิการที่รับบริการที่บ้าน 9,546 คน และครอบครัวเด็กพิการ 9,546 ครอบครัวนอกจากนี้ ศธ.มีแนวทางขยายการจัดตั้งหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษให้ครบทุกอำเภอทั่วประเทศ ไม่มีนโยบายให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ และหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)



1.   กระทรวงศึกษาธิการตัดลดงบประมาณโครงการปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่ให้เป็นครู สำหรับศูนย์การศึกษาพิเศษทั่วประเทศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนครู ผู้ดูแลเด็ก เด็กพิเศษ และครอบครัว ฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการมีแนวทางในการรองรับประเด็นปัญหานี้หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด



กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอเรียนว่า ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงการบริการทางการศึกษาของคนพิการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 จนถึงปัจจุบัน จึงได้จัดทำโครงการปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู โดยมอบหมายให้ศูนย์การศึกษาพิเศษดำเนินการลงพื้นที่ให้บริการเด็กพิการที่ขอรับบริการที่บ้าน เพื่อพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลให้มีเจตคติ องค์ความรู้ และทักษะ ที่นำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทุกประเภท


ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สพฐ.มีความจำเป็นต้องปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ทำให้โครงการปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน3,229,710 บาท (สามล้านสองแสนสองหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสิบบาทถ้วน) ในการดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กพิการที่รับบริการที่บ้านและชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Day Camp) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กพิการที่รับบริการที่บ้าน 9,787 คน และครอบครัวเด็กพิการ 9,787 ครอบครัวปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สพฐ.ได้ขอรับงบประมาณโครงการปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู จำนวน 23,865,000 บาท (ยี่สิบสามล้านแปดแสนหกหมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กพิการที่รับบริการที่บ้าน 9,546 คน และครอบครัวเด็กพิการ 9,546 ครอบครัว เพื่อมุ่งเน้นให้เด็กพิการก่อนวัยเรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ครูในศูนย์การศึกษาพิเศษ พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลพัฒนาช่วยเหลือเด็กพิการ รวมถึงเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายระหว่างกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว และชุมชน ในการให้ความช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ



2.  กระทรวงศึกษาธิการมีมาตรการในการปรับหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษทั่วประเทศ ให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือมีแนวทางเพื่อให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ มีความเป็นอิสระในระบบบริหารจัดการหรือไม่ ขอทราบรายละเอียด



ศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต โดยจัดการอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากร และชุมชน รวมทั้งบริการสื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ปัจจุบันมีศูนย์การศึกษาพิเศษทั่วประเทศ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และ 76 จังหวัดสำหรับหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นสถานที่ให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กพิการ เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการจนถึง 18 ปี ในชุมชนที่อยู่ห่างไกล มีความยากลำบากในการเดินทางไปรับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา/ประจำจังหวัด ปัจจุบันมีการจัดตั้งหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษใน 76 จังหวัด 624 หน่วยบริการขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้มีแนวทางในการขยายการจัดตั้งหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษให้ครบทุกอำเภอทั่วประเทศ จึงไม่มีนโยบายในการให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ และหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือมีความเป็นอิสระในระบบบริหารจัดการแต่อย่างใด




รายละเอียดเพิ่มเติม : ราชกิจจานุเบกษา


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : รวมข่าวครู ข่าวทั่วไป

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook