เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » บทความด้านการศึกษา » "ปฏิรูปการสอบครูผู้ช่วย ถึงเวลาหรือยัง?" : ควันหลงสอบครูผู้ช่วย

"ปฏิรูปการสอบครูผู้ช่วย ถึงเวลาหรือยัง?" : ควันหลงสอบครูผู้ช่วย

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 28 พ.ค. 2560 02:16:02 น. เข้าชม 166253 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
"ปฏิรูปการสอบครูผู้ช่วย ถึงเวลาหรือยัง?" : ควันหลงสอบครูผู้ช่วย
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : บทความด้านการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
"ปฏิรูปการสอบครูผู้ช่วย ถึงเวลาหรือยัง?" : ควันหลงสอบครูผู้ช่วย
"ปฏิรูปการสอบครูผู้ช่วย ถึงเวลาหรือยัง?" : ควันหลงสอบครูผู้ช่วย
"ปฏิรูปการสอบครูผู้ช่วย ถึงเวลาหรือยัง?" : ควันหลงสอบครูผู้ช่วย


ควันหลงการสอบบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ.2560 ที่มีการประกาศผล ภายในวันที่ 28 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา และมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีที่บางวิชาเอก ในบางจังหวัด ไม่มีผู้สามารถสอบผ่านขึ้นบัญชีได้ ล่าสุด เฟซบุ๊ค ผู้ใช้ชื่อ Chakkrit Chanachai ได้มีข้อเขียนเกี่ยวกับประเด็นการสอบบรรจุครูผู้ช่วย ได้น่าสนใจ เป็นการสะท้อนมุมมองอีกมุมมองหนึ่งในการสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย ดังนี้ครับ

------------ 

ยินดีกับคนที่สอบผ่าน และขอเป็นกำลังใจให้กับคนที่ต้องสู้ต่อนะครับ

เคยลองเอาข้อสอบที่พี่ๆน้องๆที่ติวข้อสอบกันมาทำเล่น ๆ พอเห็นข้อสอบแล้วบอกเลยว่า ผมทำไม่ได้หรอก ข้อสอบประเภทที่ชอบถามว่า ใครเป็นคนลงนามอนุมัติเรื่องนี้ ใครเป็นคนเห็นชอบเรื่องนั้น กฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้วันที่เท่าไร บอกตามตรงครับ... ไม่เคยจำ และเมื่อเป็นครูแล้วก็ไม่ได้นำมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่สอนเลยแม้แต่น้อย

ล่าสุดเห็นน้องคนนึงโพสต์ถามว่า ปี 35 ไทยส่งออกอะไรมากสุดระหว่างข้าวและยางพารา น้องบอกออกอยู่เรื่อย เราได้แต่สงสัยว่าคำถามแบบนี้ออกมาทำไม ทุกวันนี้ถ้าอยากรู้ก็ search google ไม่ได้หรือ...

สิ่งนึงที่อยากเห็นในการปฏิรูปการศึกษาคือ การปฏิรูประบบคัดกรอง ระบบประเมินผล อยากได้คนมาเป็นครูแต่ถามแต่ข้อมูลวิชาการเชิงลึกที่ไม่ได้เอามาใช้ในการทำงาน อย่างเช่นคณิตศาสตร์ ถามขาเป็ด ขาไก่ หัวหมูๆ ถามตลอด จนติวเตอร์ดักทาง เอามาเป็นตัวอย่างข้อสอบเยอะแยะ มีสูตรให้จำด้วยนะ ไอ่สูตรลัดที่ว่าเนี่ย จำยากกว่าคิดจริงซะอีก ความเห็นส่วนตัวเลิกถามเถอะ ไม่เกิดประโยชน์ สิ่งที่ควรถามโน่น หน่วยกิต คิดยังไง ตัดเกรดยังไง ค่าความแปรปรวน ค่า SD มันสำคัญยังไงกับการอ่านข้อมูลเชิงสถิติ ไม่ต้องออกลึก เอาให้รู้ว่า เข้าใจบ้างก็ยังดี ไม่ใช่มานับแต่ขาเป็ดขาไก่ เพราะเห็นพูดถึงกันเหลือเกินเอะอะก็วิจัย จะพัฒนาตนเองก็วิจัย ส่งผลงานกันเยอะแยะ ไปสุ่มถามคนส่งวิจัยเยอะๆ ให้ซักคนหน่อยเถอะว่าค่า SD มันต่างจากเอ็กซ์บาร์ยังไง อย่าเอาลึกนะ ขอร้อง

สิ่งที่เราใช้จริงในการปฏิบัติหน้าที่ครูมีหลายด้านครับ การคิดการตัดสินใจ มิติสัมพันธ์ การวางตน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะการพูด การสื่อสาร ฯลฯ แต่เราวัดคนด้วยการ "กา" ข้อสอบ ที่น่าทึ่งคือ ระบบของเรามีการเฉลยผิดอยู่บ่อยครั้งและเมื่อเปลี่ยนคำเฉลยใหม่ คนที่เก่งที่สุดกลับไม่ใช่คนเดิม และหลายครั้งน่าตลกเหลือเกินที่ประกาศผลสอบออกมาว่า ไม่มีผู้มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ บางทีสอบร้อยคนผ่านเกณฑ์ 0 คน ผมถามหน่อย ร้อยคนนั้นสอนคนไม่ได้เลยหรือ ดูเครื่องมือที่คุณวัดเขาหน่อยสิ คิดแล้วอยากเห็นหน้าคนออกข้อสอบ คนสัมภาษณ์ คุณคงสอนเก่งน่าดู

คุณไม่จำเป็นต้องออกแบบการสอนเก่ง รับมือนักเรียนได้หลากหลายวิธี มีจิตวิทยาในการใช้คำพูดสร้างความผ่อนคลาย หรือสร้างแรงบันดาลใจ ไม่ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ มีภาวะผู้นำผู้ตามที่ดี ไม่จำเป็นต้องกล้าแสดงออก ไม่จำเป็นต้องใช้คอมได้เก่งๆ หลากหลาย เพราะสิ่งเหล่านี้ข้อสอบเราคัดไม่ได้ ขอแค่ไปจำทฤษฎีที่มีอยู่อย่างหลากหลายเกี่ยวกับการศึกษา ไปท่องมา กศจ มีใครบ้าง มีกี่คน ไปจำมาแข่งกัน เราจะเลือกคุณ

ในบางธุรกิจมีวิธีการรับคนเข้าทำงานที่หลากหลายวิธีมาก ตั้งแต่สังเกตพฤติกรรม ทำเนียนไปนั่งพูดคุยด้วยเพื่อเอาข้อมูลที่แท้จริง ดูทัศนคติ ดูการแก้ปัญหา จนไปถึงการเข้าแคมป์เพื่อทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อดูทักษะเมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แล้วให้คะแนนเป็นด้านๆ

ยกตัวอย่างการประเมินทักษะทางภาษาของคนที่จะเรียนภาษาอังกฤษ เขาสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เพียงสิบกว่านาทีแล้วสามารถประเมินความสามารถทางภาษาของคุณออกมาเป็นคะแนน TOEIC ได้แล้ว บอกได้เลยว่าคุณเก่งด้านไหน อ่อนด้านไหน ควรลงเรียนคอร์สไหน อย่างไร

มีบริษัทไหนบ้างสอบคัดพนักงานแล้วถามว่าผู้บริหารเป็นใคร ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี นโยบายในโรงงานใครอนุมัติ ลาได้กี่วัน

โลกนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว ระบบการศึกษาบ้านเราควรถามตัวเองกลับมาบ้างว่าเรา เปลี่ยนบ้างได้ไหม หรือ เราเปลี่ยนบ้างจะดีไหม ทำไมเราต้องมาบ่นเรื่องเปลืองค่าวิทยฐานะ กี่หมื่นล้านต่อปี บ่นเรื่องปัญหาการลงทุนด้านการศึกษาที่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาปลายทาง ผมว่ามันเริ่มตั้งแต่คุณคัดเมล็ดพันธุ์แล้วนะ

เบื่อเหลือเกินกับคำว่า "ฟื้น" หรือ คืนชีพ ...ฯลฯ คืนชีพ การท่องอาขยาน ,คืนชีพแบบเรียนมานีมานะ, คืนชีพระบบเอ็นทรานซ์, ฟื้นกรมการฝึกหัดครู ,ฟื้นศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ มันบอกอะไรรู้ไหม มันบอกว่า คนที่ควบคุมอำนาจอยู่เป็นคนโบราณ อนุรักษ์นิยม เลยนึกถึงแต่วันคืนเก่าๆแล้วบอกว่าแต่ก่อนทำสำเร็จโดยไม่ได้มองบริบทสังคมเลยว่าวันนี้และหลายๆเมื่อวานนั้นแตกต่างกันอย่างไร

มันบอกว่าคุณไม่มีความสามารถในการมองเห็นอนาคต ภาษาวิชาการเขาเรียกวิสัยทัศน์ คุณจึงจำเป็นต้องมองกลับมาที่อดีต วิสัยทัศน์ในนิยามของท่านๆคือตัวหนังสือที่ติดผนังองค์กรเท่านั้นรึเปล่า

...เคยเห็นไหม คนบางคนทำงานเก่งมาก แต่สอบไม่ติดสักที ส่งเด็กไประดับภาคระดับประเทศ ผมเคย...

ยังไงก็ยินดีกับคนที่สอบได้ด้วยนะครับ คุณพร้อมและเตรียมตัวมาดี คุณเก่งมากที่นอกจากจะต้องเอาเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการสอนหรือการทำงานแล้วยังต้องมานั่งจำคำถาม คำตอบที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับเหตุการณ์จริงในชีวิตเป็นร้อยเป็นพันคำถาม แต่คุณก็ผ่านมันมาได้ แต่สำหรับคนที่ผิดหวังก็ต้องสู้ต่อไปครับ ตราบใดที่เรายังอยู่แบบนี้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ก็ต้องก้มหน้ายอมรับระบบห่วยๆไป...

#อันเนื่องมาจากไม่มีผู้มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์

 

 หมายเหตุ ทั้งหมดนี้ เป็นความเห็นในอีกมุมมองหนึ่งที่มีต่อระบบการสอบคัดเลือกครูนะครับ ครูบ้านนอกดอทคอม ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในการนำเสนอข้อมูลในมุมมองต่างๆ เพื่อสื่อสารเท่านั้น กรุณาแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ บทความด้านการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : บทความด้านการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook