เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » เว็บบอร์ด » ห้องเผยแพร่ผลงาน » การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โพสต์โดย : py_sa เมื่อ 19 มี.ค. 2566 22:30:29 น. อ่าน 169 ตอบ 0

ชื่อเรื่อง       การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อ    เสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โดย            จุฑามาศ  สุขสนาน

ปีการวิจัย    2563

 

บทคัดย่อ

                              การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการวิจัย 2563  โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 เล่ม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อประเมินความสามารถในการอ่านและการคิดวิเคราะห์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 40 คะแนน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test

       ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในระหว่างการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

    1.1 ความต้องการของนักเรียนในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 แสดงว่านักเรียนมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด

             1.2 ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพกับความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ พบว่า รู้และเข้าใจหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้และจัดโอกาสให้แก่ผู้เรียนมีความเหมาะสมตรงกับเวลาและทักษะความสามารถได้เต็มประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถวางแผนได้เหมาะสมกับภารกิจชิ้นงาน นักเรียนปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้น นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักสูตรและเนื้อหาที่เรียนได้ตรงตามเป้าหมายของครูผู้สอน  ผู้พัฒนาออกแบบการเรียนรู้ได้ตรงตามกระบวนการที่นำมาใช้ ผู้พัฒนาจัดทำแผนการเรียนรู้ได้ถูกต้อง เข้าใจง่าย และตรงตามจุดประสงค์

2. การเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.09/85.07 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนววัฏจักร 4 MAT ร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบ KWL PLUS ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการอ่านและการคิดวิเคราะห์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

-->




ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook