เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » เว็บบอร์ด » ห้องเผยแพร่ผลงาน » การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียน บนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียน บนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โพสต์โดย : py_sa เมื่อ 22 ก.พ. 2565 18:21:46 น. อ่าน 268 ตอบ 0

ชื่อเรื่อง       การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย         นางพุทธพร สุมามาลย์

ปีที่วิจัย       2562

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียน
บนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม
Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  
4.1) การประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4.2) ประเมินความพึงพอใจ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 39 คน ได้มาโดย
การสุ่มแบบกลุ่ม
(Cluster Random Sampling) โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
2) บทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม
Adobe Dreamweaver CS6  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ 2) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย
3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเจคติ 2.ด้านความรู้ และ 3.ด้านทักษะ รวมจำนวน30 ข้อคำถาม
3) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อคำถาม และ
สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test

ผลการวิจัยพบว่า

         1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สรุปดังนี้

             1.1 ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณกับความต้องการของนักเรียนในการรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62 แสดงว่านักเรียนมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถแยกเป็นประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) นักเรียนเห็นความสำคัญและคุณค่าของรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านบทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน 3) นักเรียนกล้าแสดงออก สามารถทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้อย่างชัดเจน 4) นักเรียนรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่มมีความสามัคคีกัน 5) นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

             1.2. ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพกับความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาระอื่นๆ พบว่า รู้และเข้าใจหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้และจัดโอกาสให้แก่ผู้เรียนมีความเหมาะสมตรงกับเวลาและทักษะความสามารถได้เต็มประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถวางแผนได้เหมาะสมกับภารกิจชิ้นงาน นักเรียนปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้น นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักสูตรและเนื้อหาที่เรียนได้ตรงตามเป้าหมายของครูผู้สอนผู้พัฒนาออกแบบการเรียนรู้ได้ตรงตามกระบวนการที่นำมาใชฃพัฒนาจัดทำแผนการเรียนรู้ได้ถูกต้องตามกระบวนการเรียนรู้เข้าใจง่ายและตรงตามจุดประสงค์กับชื่อเรื่อง

          2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.50/84.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

         3. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนพบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

          4. การประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

           4.1 ผลคะแนนการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้านเจตคติพบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.48, S.D. = 0.66) ด้านความรู้พบว่านักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.64) และด้านทักษะพบว่านักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.45, S.D. = 0.69)

             4.2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ
โดยรวมอยู่ในระดับมาก
( = 4.48, S.D. = 0.64)

-->




ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook