เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » ศธ. เร่งคลอดเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ ใช้เกณฑ์ใหม่ได้ทันที

ศธ. เร่งคลอดเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ ใช้เกณฑ์ใหม่ได้ทันที

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 30 มิ.ย. 2560 12:28:07 น. เข้าชม 166285 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ศธ. เร่งคลอดเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ ใช้เกณฑ์ใหม่ได้ทันที
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ศธ. เร่งคลอดเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ ใช้เกณฑ์ใหม่ได้ทันที
ศธ. เร่งคลอดเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ ใช้เกณฑ์ใหม่ได้ทันที

ศธ. เร่งคลอดเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ ใช้เกณฑ์ใหม่ได้ทันที

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ( ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) วาระพิเศษ ว่า ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้า การปรับปรุงร่าง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะแบบใหม่ ซึ่งจะประกาศใช้วันที่ 5 กรกฎาคมนี้ โดยที่ประชุมได้หารือ รายละเอียดในส่วนของชั่วโมงการปฏิบัติงานสอน และแบบประเมินวิทยฐานะ ซึ่ง ในสอนของการปฏิบัติงานสอนกำหนดไว้ 800 ชั่วโมงต่อปี ทั้งนี้ที่ประชุมพิจารณาครูแต่ละสังกัดมีวิธีการสอนที่แตกต่างกัน ดังนั้นนับชั่วโมงควรมีความยืดหยุ่นตามสภาพการจัดการสอน ขณะที่เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ประกอบการประเมิน จะต้องสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง ไม่ดึงครูออกนอกห้องเรียน และต้องไม่เพิ่มภาระแก่ครู ซึ่งที่ประชุมมอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดทั้ง 2 ส่วนมีความสอดคล้องกัน

รัฐมนตรีว่าการศธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นมา 1 เพื่อทำหน้าที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตอบปัญหาเกี่ยวกับการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ใหม่ ซึ่งในบทเฉพาะกาล จะกำหนดรายละเอียดการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้ที่บรรจุก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ได้แก่ กรณีได้ยื่นคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ไว้ก่อนแล้ว และยังไม่ทราบผลการพิจารณา ซึ่งถ้าผลการพิจารณา อนุมัติก็สามารถยื่นขอเลื่อนวิทยฐานะถัดไปได้ ในหลักเกณฑ์ ว17 ได้อีก 1 ครั้ง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีคุณสมบัติครบ แต่ถ้าไม่อนุมัติ ก็สามารถยื่นขอเลื่อนในหลักเกณฑ์ ว17 ได้อีก 1 ครั้ง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติ และกรณี คุณสมบัติจะครบที่จะยื่นขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้ หลังวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 สามารถยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์ ว17 ได้อีก 1 ครั้ง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ตนเองมีคุณสมบัติครบ และ2. ผู้ที่บรรจุหลัง วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ให้ยื่นขอตามหลักเกณฑ์ใหม่เท่านั้น

“บทเฉพาะกาลจะดูแลครูทุกกลุ่ม แต่ประเด็นส่วนใหญ่ที่ครูเป็นห่วงคือ เรื่องของสิทธิในระยะเวลาการขอวิทยฐานะ โดยเฉพาะครูวิทยฐานะชำนาญการ เดิมจะขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญพิเศษ ใช้เวลา 1 ปีแต่เกณฑ์ใหม่ใช้เวลา 5 ปี ซึ่งที่ประชุมได้หารือในประเด็นนี้ มีการอภิปรายว่าแม้หลักการจะระบุ 1 ปี แต่จากสถิติไม่เคยมีใครทำได้ส่วนใหญ่ใช้เวลา 4-7 ปี ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้วิทยฐานะชำนาญพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากสำนักงาน ก.ค.ศ.ว่ามีครูที่มีวิทยฐานะชำนาญการ ที่อายุราชการเกิน 5 ปีประมาณ 3 หมื่นคน และครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ อายุราชการเกิน 10 ปีประมาณ 1 หมื่นคน ที่ไม่ได้ทำผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะต่อด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่งกลุ่มนี้จะได้ประโยชน์ สามารถยื่นขอประเมินวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ทันที ไม่ต้องทำผลงานวิชาการให้ยุ่งยาก” นพ.ธีระเกียรติ กล่าว






ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 - 16:43 น.

อ่านต่อได้ที่นี่ http://www.kroobannok.com/82324


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook