เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » เผยสุดยอดเด็กเก่งแอดมิชชั่นปี’60 ‘น้องเก๊ต’ ร.ร.เบญจมราชูทิศ นครศรีฯที่ 1 นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

เผยสุดยอดเด็กเก่งแอดมิชชั่นปี’60 ‘น้องเก๊ต’ ร.ร.เบญจมราชูทิศ นครศรีฯที่ 1 นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 15 มิ.ย. 2560 13:19:14 น. เข้าชม 166359 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
เผยสุดยอดเด็กเก่งแอดมิชชั่นปี’60 ‘น้องเก๊ต’ ร.ร.เบญจมราชูทิศ นครศรีฯที่ 1 นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
เผยสุดยอดเด็กเก่งแอดมิชชั่นปี’60 ‘น้องเก๊ต’ ร.ร.เบญจมราชูทิศ นครศรีฯที่ 1 นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
เผยสุดยอดเด็กเก่งแอดมิชชั่นปี’60 ‘น้องเก๊ต’ ร.ร.เบญจมราชูทิศ นครศรีฯที่ 1 นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ศ.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แถลงข่าวประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือแอดมิชชั่นประจำปี 2560 ว่า สมาคม ทปอ.พร้อมประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการในวันนี้ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป ผ่านเว็บไซต์ของสมาคม ทปอ. http://a.cupt.net และทางเว็บไซต์ที่ร่วมประกาศผลจำนวน 11 แห่ง โดยนักเรียนสามารถตรวจสอบผลการคัดเลือกผ่านทางช่องทางดังกล่าวได้เมื่อถึงเวลาที่กำหนด สำหรับนักเรียนที่พลาดหวังจากการคัดเลือกแอดมิชชั่น ยังมีสถาบันอุดมศึกษาทั้งของม.รัฐและเอกชนอีกจำนวนหนึ่งเปิดรับนักศึกษาอยู่ในขณะนี้ จึงขอให้นักเรียนติดตามรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของแต่ละมหาวิทยาลัย

นายครองพิภพ วิรัตินนท์

ประธาน ทปอ. กล่าวต่อว่า ในปีนี้มีผู้สมัครแอดมิชชั่นทั้งสิ้น 81,232 คน ในสถาบันอุดมศึกษาที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) ดำเนินการคัดเลือกให้รวม 78 สถาบัน เพื่อเข้าศึกษาใน 3,719 สาขาวิชา โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย จำนวน 70,689 คน คิดเป็นร้อยละ 51.97 จำแนกตามประเภทสถาบัน ดังนี้ มหาวิทยาลัย/สถาบัน สมาชิก ทปอ. จำนวนรับ 78,044 คน ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 59,910 คน คิดเป็นร้อยละ 76.76 มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) จำนวนรับ 19,977 คน ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 8,739 คน คิดเป็นร้อยละ 43.75 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดหน่วยงานอื่น จำนวนรับ 249 คน ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ 248 คน คิดเป็นร้อยละ99.60 และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวนรับ 37,760 คน ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์1,792 คน คิดเป็นร้อยละ 4.75

นายธรรมสรณ์ เอี่ยมธนาภรณ์

ศ.สุชัชวีร์ กล่าวอีกว่า สำหรับการสอบสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการนั้นกำหนดให้อยู่ระหว่างวันที่ 23-26 มิ.ย.ยกเว้น 4 แห่ง ดังนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กำหนดสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายวันที่ 22 มิ.ย. คณะแพทยศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กำหนดสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย คณะแพทยศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ วันที่ 22-23 มิ.ย. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) กำหนดสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในวันที่ 21 มิ.ย. ทุกคณะ/สาขา ตั้งแต่เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป และ มทร.พระนคร กำหนดสอบสัมภาษณ์วันที่ 19 มิ.ย. ดังนั้นขอให้นักเรียนเข้ารับการสัมภาษณ์ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด

นายจิรายุส ทองประสม

ประธาน ทปอ.กล่าวด้วยว่า ส่วนคณะ/สาขาวิชา ที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยทักษิณ (มทษ.) อัตราการแข่งขัน 1:60 คณะพยาบาลศาสตร์ ปัตตานี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (เรียนที่วิทยาลัยเขตปัตตานี ) มอ.อัตราการแข่งขัน 1:50 วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) อัตราการแข่งขัน 1:49 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) อัตราการแข่งขัน 1 :43 และวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) อัตราการแข่งขัน 1:43

นายธีรภัทร อรุณรัตน

ศ.สุชัชวีร์ กล่าวอีกว่า ผู้ผ่านการคัดเลือกและได้คะแนนสูงสุดของคณะ/สาขาวิชา ประจำปีการศึกษา 2560 มีทั้งสิ้น 7 ราย คือ 1.นายครองพิภพ วิรัตินนท์ ร.ร.เบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช คะแนน 89.03 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.นายธรรมสรณ์ เอี่ยมธนาภรณ์ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ คะแนน 88.07 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 3.นายจิรายุส ทองประสม ร.ร.สตรีวิทยา 2 กรุงเทพฯ คะแนน 87.86 คณะศิลปศาสตร์ มธ. 4.นายธีรภัทร อรุณรัตน ร.ร.มอ.วิทยานุสรณ์ จ.สงขลา คะแนน 86.75 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

น.ส.ณนิฐตา ธานินทร์ปฐมรัฐ

5.น.ส.ณนิฐตา ธานินทร์ปฐมรัฐ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กรุงเทพฯ คะแนน 86.51 คณะจิตวิทยา จุฬาฯ 6.น.ส.สุชัญญา ยิ้มอยู่ ร.ร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ คะแนน84.38 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และ 7.นายเศรษฐบุตร ศรีใจอินทร์ ร.ร.สตรีศรีน่าน จ.น่าน คะแนน 82.03 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

น.ส.สุชัญญา ยิ้มอยู่

“จะเห็นได้ว่าตัวเลขผู้มีมิสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายน้อยกว่าจำนวนที่เปิดรับ เนื่องจากที่ผ่านมามหาวิทยาลัยต่างๆ ได้เปิดรับในระบบรับตรงและโควตาต่างๆ ทำให้เด็กบ้างส่วนได้ที่เรียนไปแล้ว และเป็นที่น่าดีใจที่ขณะนี้เด็กที่ได้ที่ 1 แอดมิชชั่น จะเป็นเด็กจากต่างจังหวัด และยังเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่านอกจากด็กต่างจังหวัดจะเก่งไม่น้อยกว่าเด็กกรุงเทพฯ แล้ว ยังการันตีคุณภาพโรงเรียนต่างจังหวัดอีกด้วย” ประธาน ทปอ. กล่าว

นายเศรษฐบุตร ศรีใจอินทร์

น้องเก๊ต ครองพิภพ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้ยื่นรับตรงในคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แต่ไม่ติดจึงมายื่นแอดมิชชั่นที่คณะนิเทศฯ อีกครั้ง พอผลออกมาว่าได้เข้าเรียนก็รู้สึกดีใจมาก ที่เลือกเรียนนิเทศฯ เพราะสนใจเกี่ยวกับภาพยนตร์ และชอบในเรื่องการสื่อสาร จึงต้องการเข้ามาเรียนรู้ แม้จะเรียนสายวิทยศาสตร์และคณิตศาสตร์ตอน ม.ปลาย แต่เมื่อเรียนจนถึงชั้นม.6 รู้สึกว่าอาจจะยังไม่ใช่ทางที่ชอบ ดังนั้นเมื่อเข้าต่อในระดับมหาวิทยาลัยจึงเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบและเป็นตัวเองมากกว่า ส่วนเคล็ดลับการเรียนนั้น ส่วนตัวจะเน้นตั้งใจเรียนในชั้นเรียน และเรียนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น

“สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระบบทีซีเอเอส ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2561 เท่าที่ติดตามรู้สึกว่าน่าจะเสียโอกาส เพราะสอบเพียงครั้งเดียว ไม่เหมือนระบบแอดมิชชั่นที่เรายังมีโอกาสถึง 2 ครั้ง จากประสบการณ์ของผมคิดว่าวิชาที่เราต้องทำคะแนนให้ดีโดยเฉพาะความถนัดทั่วไป (แกท) คือภาษาอังกฤษ เพราะเป็นวิชาที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งกำหนดให้ใช้ยื่นสมัคร” น้องเก๊ต กล่าว

ส่วนน้องโอ๊ค ธรรมสรณ์ เผยว่า ก่อนหน้านี้สอบติดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ของการคัดเลือกกลุ่มแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) แต่รู้สึกว่าอยากเรียนคณะทันตแพทยศาสตร์มากกว่า วมทั้งมีความสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์อย่างวิชาชีววิทยา ตลอดจนได้รับการสนับสนุนที่ดีจากครอบครัวจึงสละสิทธิ์และเลือกแอดมิชชั่นในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นอันดับหนึ่ง โดยเคล็ดลับการเรียนของตนคือตั้งใจเรียนในห้องเรียนและจะกลับมาจดโน๊ตเพื่อทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ รวมทั้งจะเลือกเรียนพิเศษเฉพาะวิชาที่ไม่ถนัด และเลือกเรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม

ด้าน น้องบอมบ์ จิรายุส กล่าวว่า รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากๆ เมื่อทราบผลเพราะไม่คิดว่าจะได้คะแนนสูงสุด สาเหตุที่เลือกคณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ เพราะสนใจและชอบเรื่องของภาษามาก ชอบอ่านวรรณกรรมอังกฤษและดูซีรีย์ต่างประเทศเนื่องจากช่วยในการฝึกภาษา รวมทั้งที่โรงเรียนยังจัดโครงการพิเศษสอน ซึ่งเป็นแนวทางการสอนที่ไม่จำเป็นต้องอยู่กับเนื้อหาบทเรียน แต่อยู่กับบทละครชอบได้ถกเถียง ไม่ต้องท่องจำ ทำบ่อยจนชำนาญ เปิดมุมมองหลายมุมมอง น่าสนุกน่าตื่นเต้น

สำหรับอนาคตตั้งใจจะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เพราะอยากถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก เนื่องจากการรู้และเข้าใจภาษาต่างประเทศถือะเป็นการเปิดโลก ได้รู้เรื่องราวต่างๆ กว้างขึ้นไม่ใช่แค่รู้แต่ในประเทศ ส่วนการสอบระบบทีซีเอเอสนั้น จากที่ติดตามก็รู้สึกว่าน้องๆ ต้องเตรียมตัวมากขึ้นเพราะสอบรอบเดียว ดังนั้นต้องวางแผนให้ดี

ขณะที่ น้องที ธีรภัทร กล่าวว่า ตอนเรียน ม.ปลายยังไม่รู้ว่าจะเรียนต่อสาขาใด แต่เมื่อได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ที่สาธารณรัฐเช็กเป็นเวลา 10 เดือน ทำให้รู้สึกสนใจด้านภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้นจึงเลือกเรียนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยตั้งใจจะเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งจากสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนตัวคิดว่าเราควรพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะการเรียนด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องใช้ในการเรียน และการทำงานในอนาคต ส่วนเรื่องปัญหาการเมืองภายในประเทศนั้น ตนก็สนใจติดตามข่าวสารเป็นระยะ

“กรณีที่พล.อ.ประยุทธิ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในประเด็นคำถาม 4 ข้อ ผมคิดว่าคำถามแคบเกินไปและอาจถามผิดประเด็น ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะได้คำตอบที่แท้จริงจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศหรือไม่ ผมคิดว่าผู้ที่จะสะท้อนเสียงประชาชนได้ดีที่สุดคือสื่อมวลชน ดังนั้นรัฐบาลควรให้เสรีภาพต่อสื่อมวลชนในการแสดงความคิดเห็น และติดตามความคืบหน้าในเรื่องต่างๆ ไม่ใช่ปิดกั้นสื่ออย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และหากกังวลว่าจะไม่มีระบบตรวจสอบการทำงานของสื่อมวลชน ผมคิดว่าประชาชนที่รับข่าวสารจากสื่อจะเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของสื่อมวลชนได้ดีที่สุด ไม่ใช่รัฐบาล หรือหน่วยงานของสื่อเอง” น้องที กล่าว

น้องแป้ม น.ส.ณนิฐตา เปิดเผยว่า เลือกคณะจิตวิทยามาตั้งแต่เริ่มเรียน ม. 6 จึงเตรียมความพร้อมว่าจะต้องใช้คะแนนวิชาอะไรอย่างไรบ้าง และก็มุ่งทำคะแนนในวิชาเหล่านั้นให้ได้ดีที่สุด สาเหตุที่เลือกคณะนี้เกิดจากส่วนตัวเป็นคนชอบคุยและชอบรับฟัง อีกทั้งทางบ้านก็มีน้องที่เป็นเด็กจำนวนเยอะ จึงอยากเรียนจิตวิทยา เพื่อที่จะเข้าใจน้องๆ และคนอื่นๆ ให้มากขึ้น ส่วนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระบบทีซีเอเอส ที่จะเริ่มใช้ในปี 2561 นั้น มองว่าเป็นระบบที่มีความยุติธรรม เนื่องจากมีการสอบเพียงครั้งเดียว ทุกคนก็มีสิทธิ์เท่ากัน แต่น้องๆ อาจจะมีความกดดันมากขึ้น เพราะสอบในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้มากขึ้น

ด้าน น้องปาล์ม สุชัญญา กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนสอบได้คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แต่กลับรู้สึกสับสนว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ และเห็นว่าคนที่จะเป็นหมอต้องมีใจรักจริงๆ จึงปรึกษากับพ่อแม่ และตัดสินใจสละสิทธิ์ ประกอบกับครอบครัวมีธุรกิจ จึงเลือกสอบเข้าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการบัญชี เพื่อจะได้กลับมาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัวต่อไป และรู้สึกดีใจมากๆ ที่สามารถสอบคะแนนสูงสุดของคณะ จากนี้คงต้องเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับโลกเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อรองรับกับธุรกิจในอนาคตจะต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขณะที่ น้องไบร์ท เศรษฐบุตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นปี 1 คณะแพทยศาสตร์ มช. แต่ชื่นชอบการคิดคำนวณ จึงตัดสินใจยื่นคะแนนแอดมิชชั่นรอบนี้อีกครั้ง และเลือกคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นอันดับแรก และรู้สึกดีใจที่สอบได้แต่จะมาเรียนหรือไม่นั้นคงต้องปรึกษากับครอบครัวก่อน สำหรับเทคนิคการเรียนที่ทำมาตลอดโดยเฉพาะการคำนวณ คือเน้นฝึกทำแบบทดสอบสม่ำเสมอ เมื่อเวลาต้องเจอโจทย์ในการทำข้อสอบต่างๆ จะช่วยให้ทำได้ง่ายขึ้น ขณะที่วิชาอื่นๆ ที่เน้นความจำ จะเน้นจดช็อตโน๊ตไว้สั้นๆ แล้วมาอ่านทำความเข้าใจภายหลัง รวมทั้งแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเพื่อนเพื่อทบทวนความรู้ไปในตัวด้วย


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook