เครื่องมือค้นหา
หน้าแรก » ข่าวการศึกษา » ประเมินครู 360 องศา!! ถกเกณฑ์วิทยฐานะ ‘PA’ ประเมินครูแบบ 360 องศา เลขาฯ ก.ค.ศ.คุย ‘หมอธี’ 1 ก.พ.นี้

ประเมินครู 360 องศา!! ถกเกณฑ์วิทยฐานะ ‘PA’ ประเมินครูแบบ 360 องศา เลขาฯ ก.ค.ศ.คุย ‘หมอธี’ 1 ก.พ.นี้

โพสต์โดย : Admin เมื่อ 30 ม.ค. 2560 10:46:34 น. เข้าชม 166264 ครั้ง

 รับทำเว็บโรงเรียน 5900 ใช้งานได้เลย GED  |   IELTS  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   CU-BEST  |   CU-TEP  |  
ประเมินครู 360 องศา!! ถกเกณฑ์วิทยฐานะ ‘PA’ ประเมินครูแบบ 360 องศา เลขาฯ ก.ค.ศ.คุย ‘หมอธี’ 1 ก.พ.นี้
แจกฟรีโปรแกรมจัดตารางเรียน แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

ดูในรายการ : ข่าวการศึกษา ทั้งหมด

กดติดตาม Facebook และ YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
ประเมินครู 360 องศา!! ถกเกณฑ์วิทยฐานะ ‘PA’ ประเมินครูแบบ 360 องศา เลขาฯ ก.ค.ศ.คุย ‘หมอธี’ 1 ก.พ.นี้
ประเมินครู 360 องศา!! ถกเกณฑ์วิทยฐานะ ‘PA’ ประเมินครูแบบ 360 องศา เลขาฯ ก.ค.ศ.คุย ‘หมอธี’ 1 ก.พ.นี้

เมื่อวันที่ 29 มกราคม นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ ตนพร้อมด้วยผู้บริหารสำนกงาน ก.ค.ศ.จะเข้าพบ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอรับนโยบายการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) เพื่อให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความสมบูรณ์ และตรงตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ที่ต้องการให้การประเมินวิทยฐานะใหม่ ไปเห็นผลที่เด็กโดยตรง จากเดิมที่ให้ทำผลงานทางวิชาการ แต่ผลส่วนใหญ่ไปเกิดที่ตัวครูเป็นหลัก โดยตนได้เตรียมข้อมูล และสรุปความสำคัญของการประเมินวิทยะฐานะ ที่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 54 ที่กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะใด และการเลื่อนเป็นวิทยะฐานะใดต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิทยะฐานะ ซึ่งผ่านการประเมิน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความประพฤติด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ประสบการณ์ คุณภาพการปฏิบัติงาน ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในด้านการเรียนการสอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด

นายพินิจศักดิ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังเตรียมข้อมูลตัวเลขครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีวิทยฐานะ กว่า 350,000 คน แบ่งเป็น วิทยฐานะชำนาญการ ประมาณ 100,000 กว่าคน อัตราเงินวิทยฐานะ 3,500 บาทต่อเดือน วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ประมาณ 200,000 กว่าคน อัตราเงินวิทยฐานะ 5,600+5,600 บาทต่อเดือน วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ประมาณ 1,000 กว่าคน อัตราเงินวิทยฐานะ 13,000+13,000 (9,900 + 9,900) บาทต่อเดือน และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 2 คน อัตราเงินวิทยฐานะ 15,600+15,600 บาทต่อเดือน

“สำหรับการประเมินที่สำนักงาน ก.ค.ศ.ปรับปรุงไว้เบื้องต้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก กรอบประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะต้องประเมินทุกปี จะดูเรื่องความเชี่ยวชาญในการสอน ภาระงานสอน มาตรฐานในการปฏิบัติงานในแต่ละวิทยฐานะ การพัฒนาตนเอง รวมถึง จรรยาบรรณ คุณธรรม และจริยธรรม มุ่งเน้นความซื่อสัตย์สุจริต โดยจะเป็นการประเมิน 360 องศา ทั้งนี้ การประเมินในส่วนแรก จะมีผลเชื่อมโยงไปถึงการประเมินเพื่อคงไว้ซึ่งวิทยฐานะด้วย ส่วนที่สอง จะเป็นกรอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะ จะให้เลือกทำข้อตกลงในการจัดทำผลงานที่สะท้อนศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสาขาที่ขอรับการประเมิน โดยจะดูการสร้างสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ สิ่งประดิษฐ์ การจัดกิจกรรม แผนงาน โครงการที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ การสร้างพัฒนาสื่อเครือข่ายทางวิชาการ สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ให้นำเสนอผลงานโดยใช้กระบวนการวิจัยด้วย ทั้งนี้ ผลการพัฒนาตามข้อตกลงต้องส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยรวมตามสาขาวิชาที่รับผิดชอบ ตามมาตรฐานที่กำหนดตามวิทยฐานะที่ขอ” นายพินิจศักดิ์กล่าว


ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ วันที่: 30 ม.ค. 60

ด้านเดลินิวส์ ก็ได้นำเสนอข่าวนี้ ดังนี้ 

ชง"หมอธี"ฟันธงปรับเกณฑ์วิทยฐานะ
ก.ค.ศ.ทำการบ้านส่ง"ธีระเกียรติ"ฟันธง ปรับเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 360 องศา


วันนี้(30ม.ค.) นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ ตนพร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานก.ค.ศ. จะเข้าพบ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เพื่อขอรับนโยบายการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ที่ต้องการให้การประเมินวิทยฐานะใหม่ไปเห็นผลที่เด็กโดยตรง จากเดิมที่ให้ทำผลงานทางวิชาการ ผลส่วนใหญ่จึงไปเกิดที่ตัวครูเป็นหลัก โดยตนได้เตรียมข้อมูล และสรุปความสำคัญของการประเมินวิทยะฐานะที่ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 54

นายพินิจศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังเตรียมข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีวิทยฐานะกว่า 350,000 คน แบ่งเป็นวิทยฐานะชำนาญการ ประมาณ 100,000 คน อัตราเงินวิทยฐานะ 3,500 บาทต่อเดือน ชำนาญการพิเศษ ประมาณ 200,000 คน เงินวิทยฐานะ 5,600+5,600 บาทต่อเดือน เชี่ยวชาญ ประมาณ 1,000 คน เงินวิทยฐานะ 13,000+13,000 (9,900 + 9,900) บาทต่อเดือน และเชี่ยวชาญพิเศษ 2 คน เงินวิทยฐานะ 15,600+15,600 บาทต่อเดือน

“การปรับปรุงในเบื้องต้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก กรอบประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องประเมินทุกปี ซึ่งจะดูความเชี่ยวชาญในการสอน ภาระงานสอน มาตรฐานในการปฏิบัติงาน การพัฒนาตนเอง รวมถึงจรรยาบรรณ คุณธรรม และจริยธรรม มุ่งเน้นความซื่อสัตย์สุจริต โดยจะเป็นการประเมิน 360 องศา ทั้งนี้การประเมินส่วนแรก จะมีผลเชื่อมโยงไปถึงการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะด้วย ส่วนที่สองจะให้เลือกทำข้อตกลงในการทำผลงานที่สะท้อนศักยภาพการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสาขาที่ขอรับการประเมิน โดยจะดูการสร้างสื่อการเรียนรู้ การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ สิ่งประดิษฐ์ การจัดกิจกรรม เป็นต้น สำหรับวิทยฐาน


ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 15.20 น.  และ ขอบคุณ เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม


☰กดไลค์หรือแชร์ เรื่องนี้ให้เพื่อนรู้ >>>

เว็บไซต์ห้องพักครูดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
กดติดตาม YouTube ห้องพักครูเพื่อเป็นกำลังใจ
แจกฟรีโปรแกรม ปพ.5 ล่าสุด แจกฟรีโปรแกรมเช็คชื่อ บันทึกความดี

เนื้อหาแนะนำ ข่าวการศึกษา


คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ? ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้เลย !


วิธีการดาวน์โหลด สือการสอน แผนการสอน

จำหน่ายแผนการสอน ป.1-ม.6 ล่าสุด


หมวดหมู่ : ข่าวการศึกษา

รวมหนังสือเตรียมสอบ





ข่าว ล่าสุด

GED  |   chulatutor  |   สอบ IELTS  |   สอบ TOEIC  |   IELTS  |   TOEIC  |  

ติดตามเรา Facebook